INSIDE HISTORY เปิดประวัติคุณบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา # ตอนที่ 29 : อนาคตของสหพัฒน์ 

“ปรารถนาความมั่นคงมากกว่าความยิ่งใหญ่
การบริหารด้วย “ความซื่อสัตัย์” สืบทอดต่อรุ่นถัดไป”

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ต่าง ๆ มากมาย ทั้งความวุ่นวาย ทางการเมือง อุทกภัย รัฐประหาร การสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่เป็นที่รักยิ่งของประชาชน รวมถึงวิกฤตการณ์ที่ส่งผลกระทบอย่างมากต่อ เศรษฐกิจและสังคมอย่างต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน นั่นคือ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (Covid-19)

ธุรกิจของเครือสหพัฒน์ซึ่งเกี่ยวข้องกับสินค้าอุปโภคบริโภค โดยรวมก็ได้รับผลกระทบในด้านต่าง ๆ

เช่นกัน ยอดขายของใช้ในชีวิตประจําวันและอาหารเพิ่มขึ้นจากการกักตัว ในทางกลับกัน เครื่องสําอางและเสื้อผ้านั้นขายน้อยลงมาก แต่ถ้ามองลึกลงไป แม้เสื้อเชิตจะขายไม่ได้ แต่กางเกงก็ไม่แย่นัก เป็นเพราะเวลาทํางานจากที่บ้านก็ยังต้องใส่กางเกง

ธุรกิจที่เติบโตมาก คือ ธุรกิจคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นการร่วมทุนกับทรานส์คอสมอส เราได้รับงานบริการสนับสนุนการขายจากลูกค้า ในช่องทางการซื้อสินค้าออนไลน์และการจัดส่งอาหารถึงบ้าน ในอนาคตจะเป็นธุรกิจที่มีความจําเป็นเพื่อตอบสนองต่อเศรษฐกิจยุคดิจิทัล ฉันจึงคิดว่านี่เป็นช่วงจังหวะที่ดี ในการเตรียมพร้อมไว้ก่อนเพื่อไม่ให้สายเกินไป

เมื่อสี่ปีที่แล้ว ฉันอายุ 80 ปี ฉันได้ถอนตัวออกจากดำแหน่งในทุกบริษัท ที่เหลืออยู่มีเพียงตำแหน่งประธานของเครือสหพัฒน์ ซึ่งไม่มีผลทางกฎหมาย

ถ้าพ่อของฉันเป็นรุ่นที่ 1 ฉันและพี่น้องของฉันเป็นรุ่นที่ 2 ลูกและหลานของฉันก็จะเป็นรุ่นที่ 3 ของ เครือสหพัฒน์ น่าเสียดายที่น้องชายที่ถัดจากฉัน คือ ณรงค์ได้เสียชีวิตในวัย 78 ปี เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ที่ผ่านมา จากการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า ทำให้ฉันคิดว่าฉันคงต้องรีบส่งต่อธุรกิจให้คนรุ่นต่อไปอย่างรวดเร็ว

บางคนของรุ่นต่อไป เป็นหัวเรือใหญ่ของการบริหารจัดการแล้ว ธรรมรัตน์ ลูกชายคนโตของฉัน เติบโตมากับธุรกิจสิ่งทอและเป็นกรรมการผู้อำนวยการและประธานกรรมการบริหาร ของบริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด (มหาชน) เป็นคนพูดน้อย ถนัดด้านการตั้งรับ ส่วน ธีรดา ลูกสาวคนโด เป็นกรรมการผู้จัดการและประธานกรรมการบริหารบริษัทเครื่องสําอาง คือ บริษัท โอ ซี ซี จํากัด (มหาชน) มีวิธีการบริหารที่รัดกุม และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จํากัด (มหาชน) หรือ SPI คือ วิชัย สามีของลูกสาวคนรอง เขามีบุคลิกที่สดใสและประสบความสำเร็จในการสร้างความสัมพันธ์ ที่ดีกับบริษัทญี่ปุ่น

เวทิต ลูกชายคนที่สองของ บุณย์เอก พี่ชายคนโตของฉัน เรียนจบจากอเมริกาและสร้างผลงาน ในฐานะกรรมการผู้อำนวยการของบริษัท สหพัฒนพิบูล จํากัด (มหาชน) ที่เป็นรากเหง้าของเรา พิภพ ลูกชายคนที่สองของพี่ชายคนที่สอง บุญปกรณ์ เป็นคนกว้างขวางกับหน่วยงานราชการ และเป็นกรรมการ บริษัท SPI คอยช่วยเหลือวิชัย

ในอนาคตอาจไม่จําเป็นต้องมีดำแหน่งประธานเครือก็เป็นได้ ฉันไม่จําเป็นต้องเสนอชื่อใคร ค่อย ๆ ฟังเสียงของพนักงาน ว่ารุ่นที่ 3 ใครทำได้ดีที่สุด แล้วหลังจากที่ฉันจากไปค่อยให้ทุกคนตัดสินใจก็ได้

ถ้าถามว่าคุณสมบัติที่จําเป็นในการเป็นผู้นำของเครือสหพัฒน์ คืออะไร คำดอบของฉัน คือ “ความ ซื่อสัตย์” และที่คุณพ่อสั่งสอนเสมอว่า “ความจริงใจ” และ “ความเชื่อใจต้องมาก่อน” ฉันเองก็พยายามทำ เช่นเดียวกัน แม้การทำกำไรจะเป็นสิ่งสำคัญ แต่ก็มีกำไรที่ดีและกำไรที่ไม่ดี เวลาที่ฉันนึกภาพเครือสห พัฒน์ในอีก 50 ปี หรือ 100 ปีข้างหน้า ฉันอยากให้เป็นบริษัทที่มั่นคงมากกว่าเป็นบริษัทใหญ่

เพื่อจุดประสงค์นั้น จําเป็นต้องมีการปรับปรุงแนวทางการทำงาน ในการขยายธุรกิจที่ผ่านมาเราได้ จัดตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาทีละแห่ง เพื่อรองรับบริษัทญี่ปุ่นที่ต้องการมาลงทุน การแยกบริษัทออกไปทำให้ เติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ต่อจากนี้ไปการรวมเข้าด้วยกันจะดีกว่า พูดให้เห็นภาพ คือ จากปัจจุบัน 300 บริษัท จะไม่ได้เพิ่มขึ้นเป็น 500 หรือ 1,000 บริษัท แต่จะถูกรวมเข้าด้วยกันเหลือ 200 หรือ 100 บริษัท

จนถึงปัจจุบัน ลักษณะธุรกิจหลักของเครือสหพัฒน์ คือ การนำร่องบริษัทญี่ปุ่นที่ขยายตัวสู่ ประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ตลาดในเมืองไทยกำลังค่อย ๆ อิ่มตัว จึงถึงเวลาที่ต้องออกไปสู่ตลาดอื่น ซึ่งไม่ได้จํากัดว่าเราต้องไปคนเดียว แต่เราจะทำงานร่วมกับบริษัทญี่ปุ่นหรือบริษัทไทยอื่น ๆ เพื่อเข้าสู่ตลาด เอเชียและตะวันตก

ในยุคหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า (Covid-19) จะต้องมีโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่าง แน่นอน ฉันเชื่อแบบนั้น และกำลังคิดถึงโมเดลสำหรับการเติบโตในรุ่นต่อไป

ประธานเครือสหพัฒน์
หมายเหตุ : บทสัมภาษณ์คุณบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา
ในคอลัมน์ Watashi no Rirekisho (My Personal History)
หนังสือพิมพ์ Nihon Keizai Shimbun (Nikkei Newspaper)
July 2021

Related

Lastest