INSIDE HISTORY เปิดประวัติคุณบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา # ตอนที่ 16 : โครงสร้างการบริหาร

“ฝากธุรกิจใหม่ไว้กับคนรุ่นใหม่

ความรุ่งเรือง “การโตแล้วแตก แตกแล้วโต” ของในเครือฯ”

เรามาพูดถึงโครงสร้างการบริหารของเครือสหพัฒน์กันบ้าง เมื่อจะเริ่มต้นธุรกิจใหม่ เหตุใดเครือ สหพัฒน์จึงตั้งบริษัทใหม่ขึ้นเสมือนการแตกตัวออกไป

พ่อของฉันคิดว่า บริษัท สหพัฒนพิบูล ซึ่งเป็นบริษัทหลักของเครือฯ ค่อยๆ เติบโตขึ้นโดยผู้บริหาร รุ่นเก่าๆ ความว่องไวก็จะน้อยลง ธุรกิจใหม่จึงควรยกให้คนหนุ่มสาวที่มีความว่องไวกว่า

พ่อเองก็เคยมีประสบการณ์เสนอให้ปู่เปลี่ยนมาขายของใช้ในชีวิตประจําวัน แต่ก็ถูกปฏิเสธ พ่อจึง ตัดสินใจแยกตัวออกมา ปู่เคยสอนไว้ว่า “อย่าสอนความรู้ทางธุรกิจให้กับลูกน้อง สอนลูกชายได้แต่อย่าสอน ลูกสาว เพราะถ้าลูกสาวบอกลูกเขย ลูกเขยจะกลายเป็นศัตรูทางธุรกิจ” ต่างกับพ่อซึ่งเชื่อว่าเราไม่สามารถ ขยายธุรกิจได้ด้วยลำพังเพียงคนเดียว ท่านจึงกระตือรือร้นในการสอนลูกน้องเป็นอย่างมาก

คุณดำหริ น้าของฉันเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่นเดียวกับลูกๆ ทุกคน พ่อของฉันมีลูกชายหกคน และลูกสาวสองคน รวมทั้งฉันซึ่งเป็นลูกชายคนที่สาม ยกเว้น ศิริยล ลูกสาวคนโตที่ด่วนจากไปก่อนเวลา อันควร ทุกคนได้ทำสิ่งที่อยากทำและสิ่งที่ควรทำภายในเครือสหพัฒน์

พี่ชายคนโต บุญเอก ได้เข้าศึกษาคณะวิศวกรรมในออสเตรเลีย และเคยรับผิดชอบการขายเครื่องเขียน Sakura Color Products Corp. บุญปกรณ์ ลูกชายคนที่สองจบคณะเศรษฐศาสตร์จากประเทศอังกฤษ เป็น ผู้บุกเบิกธุรกิจแฟชั่น ก่อตั้งบริษัท “New City” เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งแรกของเครือ สหพัฒน์

ณรงค์ ลูกชายคนที่สี่ เรียนเคมีที่จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ก่อตั้งบริษัท “บางกอก รับเบอร์” รับ ผลิตรองเท้ากีฬา Nike ในประเทศไทยเรียกเขาว่า “ราชาแห่งรองเท้า”

ลูกสาวคนที่สอง ศิรินา เรียนด้านการโฆษณาจากประเทศอังกฤษ หลังจากกลับมาได้ช่วยงานของ บริษัท “New City” และประสบความสำเร็จในการบริหารสินค้าบูติคในเวลาต่อมา

พี่น้องฝาแฝด บุญชัย ลูกชายคนที่หา และ บุญเกียรติ ลูกชายคนที่หก ทั้งคู่เรียนจบมัธยมปลายจาก ประเทศอังกฤษ และไปเรียนต่อมหาวิทยาลัยที่สหรัฐอเมริกาจนสำเร็จการศึกษา พ่อสั่งให้ฉันดูแลและ สอนงานเขาในฐานะลูกน้อง ปัจจุบันทั้ง 2 คนยังช่วยงานฉัน บุญชัยเป็นประธาน บมจ.สหพัฒนพิบูล และ บุญเกียรติเป็นประธาน บมจ.ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล

ไม่เพียงครอบครัวเท่านั้น ดังเช่น คุณพิพัฒ ก็ได้รับมอบหมายให้ดูแลธุรกิจบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และ หากพนักงานคนใดมีความสามารถหรือมีใจที่ “อยากจะทํา” ทางสหพัฒนพิบูลหรือแม้แต่ตัวคุณพ่อเทียมเอง จะออกเงินส่วนตัวสนับสนุนให้ตั้งตัวได้ และการที่เจ้าตัวร่วมลงทุนด้วยก็ทำให้ตั้งใจบริหารบริษัทนั้นอย่าง เต็มที่ การแตกแล้วเติบโตอย่างรวดเร็วจึงกลายเป็นสไตล์การทำธุรกิจของเครือสหพัฒน์ไปโดยปริยาย

บางครั้งบริษัทในเครือฯ ก็แข่งขันกันเอง ซึ่งคุณพ่อก็ยินดี ไม่ว่าจะชนะหรือแพ้ การแข่งขันย่อมให้ บทเรียน ไม่เพียงแข่งขันกับภายนอก หากมีการแข่งขันภายในด้วยบริษัทจะยิ่งเติบโตเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม คุณพ่อจะคอยดูภาพรวมทั้งหมดเพื่อไม่ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องล้มลง

ด้วยกำลังของคุณพ่อคนเดียวคงไม่อาจดูแลบริษัทในเครือฯ ได้ทั้งหมด ดังนั้นในปี พ.ศ. 2515 จึงได้ตั้งบริษัทโฮลดิ้งขึ้น คือ สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง (SPI) ในปัจจุบัน ฉัน ที่เป็นคนออกความคิดจึง ได้รับตำแหน่งประธานตามค่าสั่งของพ่อไปโดยปริยาย

อีกสาเหตุหนึ่งที่ก่อตั้ง SPI คือ ความสําเร็จในการร่วมทุนกับ Lion และ Wacoal ทําให้บริษัทญี่ปุ่น อยากมาร่วมเป็นพันธมิตรมากขึ้น แต่โครงสร้างของบริษัทในเครือฯ นั้นซับซ้อน จนไม่รู้ว่าควรจะให้คุยกับ บริษัทไหน ฉันจึงสร้าง SPI เพื่อทําหน้าที่เป็นช่องทางติดต่อและเจรจาการลงทุน

SPI ต่างจากบริษัทโฮลดิ้งทั่วไป บริษัทไม่จําเป็นต้องลงทุนหรือเข้าไปควบคุมบริษัทในเครือฯ แต่ละบริษัทจะมีผู้ถือหุ้น รูปแบบการบริหาร และทีมผู้บริหารที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม SPI มีบทบาท สำคัญ เช่น การค้ำประกันเงินกู้ และการจัดการกลยุทธ์หรือทิศทางการลงทุนโดยรวม อันเป็นเสมือนหมุด ของพัดที่ยึดบริษัทในเครือ 300 แห่งไว้ด้วยกัน

ประธานเครือสหพัฒน์
หมายเหตุ : บทสัมภาษณ์คุณบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา
ในคอลัมน์ Watashi no Rirekisho (My Personal History)
หนังสือพิมพ์ Nihon Keizai Shimbun (Nikkei Newspaper)
July 2021

Related

Lastest