INSIDE HISTORY เปิดประวัติคุณบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา # ตอนที่ 25 : สองผู้ร่วมอุดมการณ์ 

“จุดยืนที่ท้อนความไม่รีบเร่งในผลลัพธ์ เข้าอกเข้าใจความยากลําบากของผู้บริหาร”

การที่ฉันได้รู้จักกับเจ้าของธุรกิจชาวญี่ปุ่นจำนวนมากจากการร่วมทุนและความร่วมมือกัน ฉันคิดว่า คุณทาดาโอะ โยชิดะ จาก YKK คุณโทระจิโระ และคุณอัตสึชิ โคบายาชิ จากไลอ้อน และคุณโคอิจิ สีคาโมะโตะ จาก Wacoal เป็นเสมือน “ครูของการบริหารธุรกิจ” แต่วันนี้ฉันขอแนะนำผู้มีแนวคิดการบริหาร ที่น่าประทับใจอีกสองคน

คนหนึ่ง คือ คุณยูอิจิ นากาจิมะ ซึ่งเป็นประธานของคิวพี เมื่อฉันเริ่มบริษัทร่วมทุนในปี พ.ศ. 2530 ฉันพบเขาครั้งแรกเมื่อไปเยี่ยมสำนักงานใหญ่ในโตเกียว เขาอายุมากกว่าฉัน 16 ปี ในขณะนั้นเขา อายุ 66 ปี เขาเป็นสุภาพบุรุษที่ดูสุขุม แม้พวกเราจะไม่ได้พูดคุยกันมากนัก แต่ทุกคำพูดที่เราแลกเปลี่ยนกันล้วนมีความหมาย

คุณโทจิโระ นากาชิมะ ผู้ก่อตั้งบริษัทคิวพี

เขาชอบประเทศไทยและมาประชุมผู้ถือหุ้นเป็นประจําทุกปี ในในปีพ.ศ. 2542 ซึ่งตรงกับ Heisei ปี ที่ 11 เดือน 11 วันที่ 11 ซึ่งเป็น “วันคู่” ของญี่ปุ่น คุณยูอิจิอุตส่าห์มาร่วมงานแต่งงานหลานสาวของฉันซึ่ง เป็นลูกสาวของบุญเกียรติ ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งประธานของบริษัทที่ร่วมทุนกัน

เขามีความสนใจในอาหารไทยเป็นพิเศษ โดยเฉพาะผักชีที่มีกลิ่นอันโดดเด่น เขาทำให้คนไทย ประหลาดใจอยู่บ่อยครั้งด้วยการขอเติมผักชี ทั้งเขาและฉันเป็นบุตรชายของผู้ก่อตั้งบริษัทเหมือนกัน จึงมี หลายสิ่งที่คล้ายคลึงกัน เช่น การเข้าบริหารธุรกิจของครอบครัว เมื่อเขาเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2551 ฉันได้ ไปร่วมงานศพที่โตเกียวและได้กล่าวคำอำลากับเขา

ฉันเคยกินมายองเนสคิวพี่บ่อย ๆ ตอนทํางานอยู่ที่โอชาก้า แต่ทว่า สมัยนั้นประเทศไทยยังไม่มี ความคุ้นเคยกับอาหารตะวันตก และแทบจะไม่มีใครรู้จักมายองเนสเลยด้วยซ้ำ ระหว่างนั้นเอง ฉันก็ได้ ติดต่อผ่านเจ้าหน้าที่จัดซื้อของบริษัทที่เดินทางมาประเทศไทยเพื่อซื้อวัตถุดิบ เกี่ยวกับเรื่องการเปิดบริษัท ร่วมทุน

ภาพขวดคิวพีในยุคแรก

เรื่องที่น่าชื่นชมของคุณนากาจิมะ คือ เขาไม่รีบเร่งในผลลัพธ์ ช่วงแรกเริ่มในญี่ปุ่นก็เป็นเหมือน กัน ฉันต้องอดทนรอให้มายองเนสเป็นที่รู้จักแพร่หลาย ดังนั้น เพื่อที่จะตั้งบริษัทร่วมทุน จึงเริ่มต้นจาก การรับผลิตสินค้าตามสั่งอื่นๆ หลากหลายผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็น ซอสมะเขือเทศที่ใช้ในแมคโดนัลด์ สลัดโคลสลอว์สําหรับ KFC เครื่องปรุง เช่น โชยุและซอส เป็นต้น ด้วยความอดทน ในที่สุด มายองเนสก็ ได้มาอยู่บนโต๊ะอาหารของคนไทย และคิวพีก็เติบโตเป็นบริษัทที่ประสบความสําเร็จมีอัตราการจ่าย เงินปันผลที่สูง

อีกคนหนึ่งคือ คุณมาโคโตะ อีดะ ผู้ก่อตั้ง SECOM เขาแก่กว่าฉันเพียงสี่ปี แทบจะเรียกว่าเป็น คนรุ่นเดียวกันเลยก็ว่าได้ คนที่ทำให้เราได้เจอกันคือคุณสึคาโมะโตะ เจ้าของบริษัท Wacoal ในปี พ.ศ. 2530 เขามาประเทศไทยในฐานะประธานหอการค้า และอุตสาหกรรมเกียวโตพร้อมกับคณะสํารวจตลาด และได้บอกกับฉันว่า “มีบุคคลที่น่าสนใจมาด้วย” ต้องการแนะนำาให้ฉันรู้จัก

ในขณะนั้น Secom เรียกได้ว่าเป็นบริษัทสตาร์ทอัพ คุณอีดะมีรูปร่างสูงใหญ่พอ ๆ กับฉันที่สูง 183 ซ.ม. เลยทีเดียว เขาอธิบายธุรกิจ “ระบบรักษาความปลอดภัย” ด้วยคำบรรยายที่เฉียบคม ฉันรู้สึกประหลาดใจ กับแนวคิดใหม่ของการรักษาความปลอดภัย ซึ่งปกติต้องใช้มนุษย์แต่เขาจะเปลี่ยนไปใช้คอมพิวเตอร์แทน

วลีที่ว่า “SECOM เป็นธุรกิจที่มีรันเวย์ยาว” นั้นโดนใจฉันมากในฐานะคนรักเครื่องบิน แม้จะมี หมายความว่าต้องใช้เวลานานในการทํากำไร แต่ตอนนั้น ฉันอายุ 50 ปีพอดี ฉันอยากที่จะลองทำธุรกิจ ใหม่ที่ยากแต่คุ้มค่า ฉันจึงเป็นฝ่ายไปขอร้อง และเริ่มจัดตั้งบริษัทร่วมทุนในปีพ.ศ. 2531

ตามที่คุณอีดะได้พูดไว้ รันเวย์นั้นยาวจริง ๆ ตั้งแต่เริ่มธุรกิจมาบริษัทเพิ่งจะทำกำไรใน 10 ปีให้หลังนี้เอง อย่างไรก็ตาม นี่เป็นธุรกิจที่มีความหมายมากสำหรับเราที่เคยขายแต่สินค้า ทำให้เราได้มีโอกาสก้าวเข้าสู่ ธุรกิจงานบริการ

คุณอีดะชอบอาหารรสจัดแต่เขาก็ไม่ได้มาเมืองไทยบ่อยนัก หากฉันไปญี่ปุ่นเมื่อไหร่เขาก็จะหาเวลามาพบกันให้ได้ ปีหลัง ๆ มานี้เราไม่ได้คุยเรื่องงานนัก เพียงแค่ได้เห็นหน้าและจับมือกันก็นับเป็นเวลา ที่สําคัญมากสำหรับฉัน

ประธานเครือสหพัฒน์
หมายเหตุ : บทสัมภาษณ์คุณบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา
ในคอลัมน์ Watashi no Rirekisho (My Personal History)
หนังสือพิมพ์ Nihon Keizai Shimbun (Nikkei Newspaper)
July 2021

Related

Lastest