INSIDE HISTORY เปิดประวัติคุณบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา # ตอนที่ 24 : สู่ธุรกิจร้านขายปลีกและร้านอาหาร

“สร้างจุดเชื่อมโยง กับผู้บริโภค จับทางสินค้าขายดีให้ความสําคัญกับความยั่งยืน เปิดร้านสะดวกซื้อและร้านราเม็ง”

ในช่วงปีค.ศ. 2000 (พ.ศ. 2543) เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวจากวิกฤตค่าเงินในเอเชียและเริ่มกลับมา เติบโตอีกครั้ง เราพยายามหลีกเลี่ยงการค้าปลีกด้วยตัวเองมาตลอด และเริ่มกลับมาลองทำร้านอาหาร ที่เคยเลิกไป

เราเคยลงทุนในธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ต Yaohan ในช่วงปลายทศวรรษ 1980 (พ.ศ. 2523) และธุรกิจ

ร้านสะดวกซื้อ Family Mart ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 (พ.ศ. 2533) แต่ก็เป็นการลงทุน เพียงเล็กน้อย ตามคำร้องขอของอีกฝ่ายเท่านั้น เนื่องจากเราคิดตลอดเวลาว่าเราเป็นผู้ค้าส่ง ดังนั้น การทําร้านค้าปลีกจะ เป็นการแข่งขันกับลูกค้าของเราเอง

อย่างไรก็ตาม สภาพแวดล้อมทางธุรกิจเปลี่ยนแปลงไป ผู้ค้าปลีกซื้อสินค้าโดยตรงจากผู้ผลิตมากขึ้น เป็นยุคที่มีสินค้าหลากหลายมาก ฉันตระหนักได้ว่าเราจำเป็นต้องมีช่องทางที่สามารถสัมผัสกับผู้บริโภค โดยตรง เพื่อที่จะได้รู้ว่าสินค้าใดขายดีหรือไม่ อย่างไร

ดังนั้น เมื่อยุติการร่วมทุนจาก Family Mart ในปีพ.ศ. 2546 เราจึงดำเนินธุรกิจร้านค้าปลีกด้วยตัวเอง ต่อเนื่อง โดยใช้ชื่อร้าน “108 Shop” ตั้งร้านบนพื้นที่ของเราเอง เน้นทำร้านขนาดเล็กจนมีจํานวนร้าน มากถึง 700 แห่ง

Lawson เห็นว่าเรามีร้าน 108 Shop จึงมาขอร่วมทุนด้วย ทั้ง ๆ ที่ในประเทศไทยขณะนั้น ร้าน 7-11 เป็นร้านสะดวกซื้อที่แข็งแกร่ง ของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ด้วยถือเป็นงานที่ท้าทาย เราจึงได้ก่อตั้งบริษัท ร่วมทุนขึ้นในปี พ.ศ. 2555 และเปิดร้านสะดวกซื้อภายใต้ชื่อ “Lawson 108”

ฉันพูดกับคุณทาเคชิ นีอินามิ อดีตประธาน Lawson ว่า “หากไม่ส่งคนที่มีหัวใจแห่งความเป็นเจ้าของ มา ก็ไม่มีทางเอาชนะ 7-11 ได้” และเขาก็พยักหน้าเห็นด้วย แต่ทว่าภายหลังในปีพ.ศ. 2557 เขาได้ย้าย บริษัทไปดำรงดำแหน่งประธานบริษัท Suntory Holdings แทน

บริษัท Lawson 108 มีหลายสิ่งที่รอการตัดสินใจจากโตเกียว ทำให้รู้สึกหงุดหงิดในบางครั้ง เมื่อ เร็ว ๆ นี้ เครือสหพัฒน์ได้แนะนำไปยัง Lawson ที่ญี่ปุ่น ให้ขยายร้านขนาดเล็ก (Kiosk) ในบริเวณสถานี รถไฟฟ้า (BTS) ในกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ 7-11 ไม่ได้ทำ

ร้านค้าปลีกญี่ปุ่นที่เรามีส่วนร่วมด้วย ได้แก่ ร้านขายยาซูรูฮะ, ร้าน Daiso, ทีวีช็อปปิ้ง SHOP Channel, ร้านดอง ดอง ดองกิ ที่กำลังฮิตใน กรุงเทพฯ เป็นต้น

ในยุค 90 เราทำธุรกิจร้านอาหารทั้งร้านข้าวหน้าเนื้อ Yoshinoya ร้าน Fujiya ร้าน Ginza Lion แต่ธุรกิจก็ไปได้ไม่ค่อยดีนัก ตามที่ฉันเคยเล่าไว้ก่อนหน้านี้ว่า การทานอาหารนอกบ้านดอนนั้นยังไม่แพร่หลาย และเราเข้าตลาดเร็วเกินไป

แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาสถานการณ์ได้เปลี่ยนไป ไม่เพียงแต่ระดับรายได้ของคนไทยจะสูงขึ้น เท่านั้น คนหนุ่มสาวชอบทานอาหารนอกบ้านมากขึ้น และคุ้นเคยกับอาหารญี่ปุ่นประเภทซูชิ และเทมปุระ มาตั้งแต่เด็ก ด้วยเหตุนี้ ร้านอาหารญี่ปุ่น จึงกลายเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ในการดึงดูดลูกค้าของห้างใน กรุงเทพฯ เครือสหพัฒน์มีธุรกิจด้านอาหารเป็นทุนเดิม จึงสามารถใช้วัตถุดิบการทำอาหารร่วมกันได้

เราเพียงรอเวลาลุกขึ้นยืนใหม่อีกครั้ง และก็เริ่มต้นด้วยการเปิดร้าน Tonkatsu Shinjuku Saboten ในปี พ.ศ. 2551 ร้าน Washoku SATO ในปีพ.ศ. 2557 และร้านราเม็ง Kourakuen ในปี พ.ศ. 2559

Kourakuen มาเปิดในประเทศไทยครั้งแรกในปีพ.ศ. 2555 และขยายเป็น 6 สาขาอย่างรวดเร็ว หนึ่งในนั้นเป็นสาขาที่เปิดในโครงการ J Park ของเราที่ศรีราชา ฉันไปทานอยู่บ่อยครั้ง และด้วยรสชาติ ที่เรียบง่าย ชวนให้คิดถึง Ramen ในร้านอาหารจีนที่ญี่ปุ่น

อย่างไรก็ตาม การดำเป็นธุรกิจร้านอาหารประสบภาวะขาดทุนเนื่องจากค่าแรงที่สูงจากการดำเนิน

งานโดยชาวญี่ปุ่นเป็นหลัก เมื่อฉันได้รับการติดต่อมาว่า จะถอนตัวจากประเทศไทย ฉันคิดว่า น่าเสียดาย ที่ราเม็งอร่อย ๆ จะหายไป จึงเสนอรับช่วงธุรกิจต่อไป โดยใช้โรงงานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปผลิตเส้นและน้ำซุป แบบโฮมเมด ทําให้เกิดประสิทธิภาพและสามารถดำเนินธุรกิจต่อเนื่อง

ธุรกิจร้านอาหารทั้งสาม รวมกันแล้วยังมีไม่ถึง 20 ร้าน แต่เราไม่คิดจะเร่งรีบขยายสาขาใหม่ ธุรกิจ ร้านอาหารเป็นอุตสาหกรรมที่สามารถเติบโตได้อย่างแน่นอน ฉันจึงต้องการสร้างความแข็งแรงยั่งยืนของ ธุรกิจ โดยการใช้ฐานธุรกิจของเครือสหพัฒน์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ประธานเครือสหพัฒน์
หมายเหตุ : บทสัมภาษณ์คุณบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา
ในคอลัมน์ Watashi no Rirekisho (My Personal History)
หนังสือพิมพ์ Nihon Keizai Shimbun (Nikkei Newspaper)
July 2021

Related

Lastest