INSIDE HISTORY เปิดประวัติคุณบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา # ตอนที่ 19 : เรียนรู้จากความล้มเหลว

“การก้าวเข้าตลาดที่ไวเกินไปของสินค้ายาและข้าวหน้าเนื้อ กุญแจสู่การแก้ปัญหาคือ “หัวใจของความเป็นเจ้าของ”

สหพัฒน์เติบโตจากการร่วมมือกับบริษัทญี่ปุ่นหลายแห่ง ที่กล่าวถึงไปแล้วส่วนใหญ่เป็นตัวอย่างที่ ประสบความสำเร็จ แต่แน่นอนว่า ต้องมีตัวอย่างของความล้มเหลวด้วย ฉันจึงอยากกล่าวถึงเอาไว้ เหตุผลหนึ่งก็เพื่อเอาไว้เดือนตัวเองด้วย

เมื่อฉันเดินทางไปทำธุรกิจที่ญี่ปุ่นในช่วงครึ่งหลังของปี พ.ศ.2503 ประธานยูจิ ไนโตะ ผู้ก่อตั้งบริษัท Eisai มาปรึกษากับฉันว่า “ต้องการขยายธุรกิจสู่ประเทศไทย” ตลาดยาในเวลานั้นอยู่ในมือของชาติตะวันตก ขณะนั้นเป็นช่วงเวลาที่ธุรกิจผงซักฟอกและเครื่องสําอางเป็นไปด้วยดี และจากการพูดคุยกัน 2 ครั้ง ฉันรู้สึกว่า ถึงความเป็นไปได้ที่จะทําธุรกิจยารักษาโรค จึงได้จัดตั้งบริษัทร่วมทุนเพื่อจัดจําหน่ายยารักษาโรค ในปีพ.ศ. 2512

เราเริ่มนำเข้ายาสำหรับระบบทางเดินอาหารและยาแก้ปวด แต่ข้อแตกต่างจากการจําหน่ายสินค้า อุปโภคคือ สินค้าประเภทยาต้องใช้เวลาและความยุ่งยากในการขออนุมัติจากภาครัฐ ฝ่ายผู้ร่วมทุนคาดหวัง ถึงศักยภาพในการขายของสหพัฒน์ แต่เราไม่มีความรู้ในการขายสินค้าประเภทยา และยิ่งโชคร้ายที่ตรงกับ ช่วงการคว่ำบาตรผลิตภัณฑ์ของญี่ปุ่นพอดี

ดังนั้น หากยังคงทำธุรกิจนี้ต่อไป จะเป็นการสร้างปัญหาให้อีกฝ่าย ฉันจึงได้ไปขอโทษและ หลังจากนั้นอีกไม่นานก็ปิดบริษัทร่วมทุน ต่อมาภายหลังเครือสหพัฒน์ได้ซื้อบริษัทยาของไทยที่ล้มละลาย จึงได้กลับเข้าสู่วงการยาอีกครั้ง การทำธุรกิจกับ Eisai ในครั้งนั้นถือว่าเร็วเกินไป นั่นเป็นครั้งแรกที่ต้องยุติ กิจการร่วมทุนกับญี่ปุ่น ซึ่งเป็นความทรงจำอันขมขื่น

ในปี พ.ศ. 2538 ได้ร่วมทุนกับ ร้านข้าวหน้าเนื้อ Yoshinoya ก่อนหน้านี้ได้เล่าไว้ว่าตอนที่ไปทำงาน อยู่ที่โอซาก้าของโปรดของฉันคือ สุกี้ยากี้ หลังจากนั้นเมื่อฉันไปเยี่ยมญี่ปุ่น ฉันได้ทานข้าวหน้าเนื้อของ Yoshinoya และรู้สึกว่าอร่อย หลังจากได้รับคำเชิญชวนจากทางญี่ปุ่น ก็คิดว่าในไทยก็น่าจะขายได้

ภาพจาก marketeeronline

สาขาแรกเปิดในห้างสรรพสินค้าใจกลางกรุงเทพฯ เป็นข้าวหน้าเนื้อที่ไม่ได้ปรุงรสให้หวานเหมือน ปัจจุบัน ในขณะนั้นคนไทยยังมีรายได้ต่ำอยู่ หากไม่นับการซื้ออาหารจากร้านแผงลอย การรับประทาน อาหารนอกบ้านยังไม่แพร่หลายนัก นอกจากนี้ ชาวไทยที่นับถือศาสนาพุทธจํานวนมากยังนับถือเจ้าแม่กวนอิม

ซึ่งเชื่อกันว่าวัวเป็นการกลับชาติมาเกิดของบิดาของเจ้าแม่กวนอิม จึงไม่รับประทานเนื้อวัว นอกจากนี้ยังมีความเชื่อที่จะไม่กินวัวที่ซึ่งเป็นสัตว์ที่ช่วยทำนาอีกด้วย

หลังจากเปิดร้านไป 5-6 สาขา ฉันก็คิดว่าธุรกิจนี้คงดำเนินไปได้ยาก และอีกปัจจัยหนึ่งคือวิกฤต ต้มยำกุ้งในปี พ.ศ. 2540 ค่าเงินบาทอ่อนตัว ทำให้ต้นทุนเนื้อวัวนำเข้าจากสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย เพิ่มสูงขึ้น เป็นเรื่องช่วยไม่ได้เมื่อทางฝ่าย Yoshinoya ขอถอนตัว และการร่วมทุนยุติลงในเวลาเพียงสามปี

ต่อมา คนชอบทานเนื้อวัวเพิ่มมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2554 Yoshinoya จึงกลับเข้าสู่ตลาดไทยอีกครั้ง โดยร่วมมือกับผู้จัดจําหน่ายรายใหญ่ คือ เซ็นทรัลกรุ๊ป ซึ่งสามารถพูดได้ว่าเรานำธุรกิจร้านข้าวหน้าเนื้อ เข้าตลาดเร็วเกินไป

ในทางตรงกันข้าม ร้านคาราโอเกะ ” Big Echo ” ที่ร่วมทุนกับบริษัท Daiichi Kosho กลายเป็นธุรกิจ ที่เข้าตลาดช้าไป เปิดร้านแรก ในปีพ.ศ. 2545 เปิดสาขารวมทั้งหมด 2 สาขา ในยุคนั้นร้านคาราโอเกะยังมี ภาพลักษณ์ของการเป็นร้านกลางคืนอยู่ แต่หากเราสามารถทำเป็น karaoke box แบบญี่ปุ่น ที่ครอบครัว และเพื่อนฝูงสามารถเพลิดเพลินกับการร้องเพลงและทานอาหารได้ ก็คาดว่าจะได้รับความนิยมและได้รับ การตอบรับที่ดี

ภาพจาก tripadvisor.com

ร้านคาราโอเกะ BIG ECHO ณ ประเทศญี่ปุ่น

ทว่า ทาง Daiichi Kosho ประเทศญี่ปุ่นได้เปลี่ยนวิธีเปิดเพลงจากเครื่องเลเซอร์ดิสก์เป็นไฟล์เพลง ซึ่งเป็นการยากที่จะใช้วิธีเดียวกันนี้ในประเทศไทย ทำให้เพลงไม่ทันยุคสมัย การไม่มีเพลงใหม่ก็ไม่สามารถ ดึงดูดลูกค้าวัยรุ่นได้ การร่วมทุนจึงยุติในปี พ.ศ. 2556 แต่ถ้าธุรกิจยังสามารถดำเนินต่อไปได้จนปัจจุบัน ก็อาจกลายเป็นธุรกิจที่ดีธุรกิจหนึ่งก็ได้

แม้จะเสียดาย แต่ประสบการณ์ของความล้มเหลวก็เป็นทรัพย์สินที่มีค่าสำหรับเราเช่นกัน บริษัทญี่ปุ่น คาดหวังศักยภาพด้านการขายและข้อมูลจากสหพัฒน์ ดังนั้นเราจึงพยายามอย่างเต็มที่เพื่อตอบสนอง ความคาดหวังนั้น แต่เมื่อเจอปัญหาเราก็จําเป็นต้องร่วมมือกันแก้ปัญหาอย่างเต็มกำลังทั้งสองฝ่าย กล่าว โดยรวมแล้ว หากผู้บริหารญี่ปุ่นที่ถูกส่งมาจากบริษัทแม่เพื่อบริหารบริษัทร่วมทุนมี “หัวใจของความเป็นเจ้าของ” โอกาสของความสำเร็จก็จะเพิ่มขึ้น

ประธานเครือสหพัฒน์
หมายเหตุ : บทสัมภาษณ์คุณบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา
ในคอลัมน์ Watashi no Rirekisho (My Personal History)
หนังสือพิมพ์ Nihon Keizai Shimbun (Nikkei Newspaper)

Related

Lastest