“สู่การสร้างสวนอุตสาหกรรมทั่วประเทศ สร้างสวนสาธารณะและโรงเรียนโดยรอบ”
ในทศวรรษ 2510 โรงงานในประเทศไทยกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ การเติบโตทางเศรษฐกิจนำพา มาซึ่งการขยายตัวของโรงงานหลายแห่ง แต่ยังไม่มีการวางผังเมืองและการจัดระเบียบที่เหมาะสม ส่งผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อมในโรงงานและพื้นที่โดยรอบ เกิดความแออัดและเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม
ที่ประเทศญี่ปุ่น หลายบริษัทมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่โตเกียว แต่โรงงานตั้งอยู่ต่างจังหวัด ถ้ามอง ในมุมของการสรรหาแรงงาน ก็เป็นเรื่องปกติที่ไทยเองควรจะมีฐานการผลิตตั้งอยู่ในพื้นที่ต่างจังหวัด ซึ่ง สอดคล้องกับนโยบาย “เน้นการพัฒนาภูมิภาค” ในปี พ.ศ. 2514 ที่ระบุอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 ซึ่งเป็นแผนระยะ 5 ปี
ความตั้งใจที่จะสร้างนิคมอุตสาหกรรมเกิดขึ้น เพราะฉันเชื่อมั่นว่าอุตสาหกรรมการผลิตของญี่ปุ่น จะเร่งขยายธุรกิจมาสู่ประเทศไทย และด้วยการก่อตั้งบริษัทโฮลดิ้งเพื่อให้ช่องทางการติดต่อประสานงาน เป็นหนึ่งเดียว และการหาที่ดินเตรียมสร้างโรงงานไว้ให้เรียบร้อย จะช่วยให้การเจรจาสําเร็จรวดเร็วยิ่งขึ้น
พ่อของฉันไม่ได้คัดค้าน แต่ก็ไม่ได้เห็นดีเห็นงามด้วย เนื่องจากกังวลเรื่องการจัดการเงินทุน ซึ่ง เครือสหพัฒน์ฯ ในขณะนั้นมีเงินทุนน้อย และต้องอาศัยเงินกู้จากธนาคารเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน ดังนั้น จึงได้อธิบายไปว่าไม่ใช่การลงทุนทั้งหมดในคราวเดียว แต่จะค่อยๆ ก่อสร้างไป คุณพ่อจึงเห็นด้วยในที่สุด
เริ่มจากการหาที่ดิน ตัวเลือกแรกที่เจอคือ จังหวัดสมุทรปราการ ใกล้ปากแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีข้อดี คือ ห่างจากกรุงเทพฯเพียง 20 กม.เท่านั้น แต่พื้นดินอ่อนและไม่เหมาะที่จะท่านิคมอุตสาหกรรม ซึ่งภายหลัง ที่ดินผืนนั้นกลายเป็นฟาร์มกุ้ง
พื้นที่ต่อไปที่ฉันเจอคือ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ห่างจากกรุงเทพฯไปประมาณ 120 กม.ไปทาง ตะวันออกเฉียงใต้ ฉันไปดูที่ดินกับ ณรงค์ น้องชาย ในสมัยนั้นยังไม่มีทางด่วน ฉันยังจําได้แม่นว่า ต้อง วิ่งผ่านถนนแคบๆ ที่เป็นหลุมเป็นบ่อ ซึ่งใช้เวลามากพอสมควร แต่ปัจจุบันขับรถ จากรุงเทพฯ จะใช้เวลา ประมาณชั่วโมงครึ่งเท่านั้น
ที่ดินที่หมายตาไว้เป็นไร่อ้อย ซึ่งในขณะนั้นถือครองโดยธนาคารกรุงไทยที่มีรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ อยู่ใกล้ท่าเรือ มีพื้นดินที่แข็งและเป็นพื้นที่สูง ไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำท่วม ที่นี่แหละ..ใช่เลย จากนั้นฉันก็ เริ่มดำเนินงานตามแผนที่วางไว้
ฉันไม่ได้ย้ายฐานการผลิตทั้งหมดจากกรุงเทพฯ ในทันที แต่ให้ศรีราชาเป็นฐานเพิ่มกำลังการผลิต จริงอยู่ว่าไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำท่วม แต่ก็หมายความว่าอาจมีปัญหาน้ำไม่เพียงพอ ฉันจึงเน้นโรงงาน ผลิตภัณฑ์ประเภทที่ใช้น้ำไม่มาก เช่น โรงงานผลิตรองเท้า โรงงานสินค้าอุปโภค โรงงานผลิตชุดชั้นใน โรงงานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ซึ่งแน่นอนที่เราค่อยๆ สร้างขึ้นทีละแห่ง
การทำความเข้าใจกับคนท้องถิ่นเป็นเรื่องยากยิ่งกว่า ตอนนั้นศรีราชาเป็นหมู่บ้านเกษตรกรรมและ ประมงที่เงียบสงบ ส่วนอุตสาหกรรมมีเพียงโรงกลั่นน้ำมันเท่านั้น คนท้องถิ่นยังไม่ไว้ใจพวกเราที่มาจาก กรุงเทพฯ ฉันพยายามอย่างยิ่งเพื่อที่จะอธิบายว่า ” เมื่อลูกๆ ของคุณโตเป็นผู้ใหญ่ จะมีสถานที่ให้ทำงาน เพิ่มมากขึ้น “
เป็นเรื่องปกติที่ต้องจัดการระบบน้ำเสียและฝุ่นควันไม่ให้รบกวนคนในพื้นที่ แต่เราก้าวไปอีกขั้นหนึ่ง โดยเราให้ความสำคัญกับการอยู่ร่วมกันกับชุมชนท้องถิ่น ฉะนั้น แทนที่จะแยกพื้นที่ของเราออกจากบริเวณ โดยรอบ เราค่อย ๆ สร้างสวนสาธารณะ ตลาด โรงเรียน ร้านค้าสำหรับจําหน่ายสินค้าที่ผลิตขึ้น ฯลฯ โดย มุ่งเป้าไปให้คนในท้องถิ่นสามารถเข้ามาใช้สถานที่ได้ นั่นคือที่มาของการเรียกว่า “สวนอุตสาหกรรม”
สวนอุตสาหกรรมศรีราชา เริ่มต้นที่ 80 เฮกตาร์ (ประมาณ 500 ไร่) ตอนนี้ขยายเป็น 288 เฮกตาร์ (ประมาณ 1,800 ไร่) หากจะเทียบให้เห็นภาพพื้นที่ทั้งหมดคงใหญ่ประมาณโตเกียวโดมสัก 60 สนาม ปัจจุบันมีประมาณ 60 บริษัท และ 90% เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างเครือสหพัฒน์ กับบริษัทญี่ปุ่น และมี ชาวญี่ปุ่นประมาณ 6,000 คนอาศัยอยู่ที่ศรีราชา
นี่ก็คือตึก ไอ.ซี.ซี. ข้างหน้ายังทำเป็นสนามบาสเกตบอล
ข้างในเป็นโกดัง ที่เก็บชิ้นส่วนพวกโฆษณา เวลาที่เราไปจัดงาน
ที่ร้านค้า แล้วก็เอากลับมาเก็บไว้
หลังจากนั้น จึงมีการสร้างสวนอุตสาหกรรมเพิ่มอีกหลายแห่ง ได้แก่ อำเภอกบินทร์บุรีทางภาคตะวันออก จังหวัดลำพูนใกล้เชียงใหม่ทางภาคเหนือ และอำเภอแม่สอด จังหวัดตากติดแนวชายแดนพม่า นอกจากกลุ่มบริษัทในเครือที่จะย้ายเข้ามาแล้ว เราก็ยังขายที่ดินให้บริษัทนอกเครือเข้ามาสร้างโรงงานด้วย
ในประเทศไทย มีกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่จํานวนมาก ถ้าไม่นับรวมบริษัทที่ทำธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม โดยเฉพาะแล้ว เครือสหพัฒน์เท่านั้นที่มีการบริหารสวนอุตสาหกรรมของตัวเอง เพื่อให้ในบริษัทในเครือฯ ได้ใช้ประโยชน์ กล่าวได้ว่าเป็นข้อแตกต่างสําคัญของเราเลยก็ว่าได้
ประธานเครือสหพัฒน์
หมายเหตุ : บทสัมภาษณ์คุณบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา
ในคอลัมน์ Watashi no Rirekisho (My Personal History)
หนังสือพิมพ์ Nihon Keizai Shimbun (Nikkei Newspaper)
July 2021