INSIDE HISTORY เปิดประวัติคุณบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา # ตอนที่ 17 : ความวุ่นวายในยุค 70

“การเรียกร้องประชาธิปไตยและการประท้วงต่อต้านญี่ปุ่น
โอกาสในการอุทิศตนเพื่อสังคมขององค์กร”

ช่วงทศวรรษ 2510 เป็นยุคก้าวกระโดดของเครือสหพัฒน์ ของใช้ในชีวิตประจําวัน เช่น ผงซักฟอก และแชมพูขายได้ดี และเราได้ขยายการขายสู่ธุรกิจเสื้อผ้าและอาหาร ขณะเดียวกันก็มุ่งเน้นไปที่การโฆษณา ซึ่งมีบทบาทในการทําให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จักแพร่หลายในกลุ่มผู้บริโภคของไทย มีการจัดตั้งบริษัทโฮลดิ้ง เพื่อวางระบบการจัดการเพื่อการเติบโตยิ่งขึ้น

ในทางกลับกัน ทศวรรษ 2510 เป็นช่วงเวลาที่สังคมไทยเกิดความวุ่นวายอย่างรุนแรง จุดเปลี่ยน ที่สําคัญจุดหนึ่งคือ “เหตุการณ์ 14 ตุลาคม” ในปี พ.ศ.2516

ภาพจาก มติชน 

การปกครองภายใต้ระบอบเผด็จการทหารของจอมพลถนอม กิตติขจร ในยุครุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ สร้างความไม่พอใจของชนชั้นกลางในเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ วันที่ 14 ตุลาคม กองกำลังรักษาความปลอดภัย ได้ยิงนักเรียนและประชาชนที่มารวมตัวกันกว่า 400,000 คนเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยบนท้องถนน จาก ประกาศของรัฐบาลมีผู้เสียชีวิต 77 คน สถานการณ์คลี่คลายลงเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงมีพระบรมราชโองการให้จอมพลถนอมออกจากด่าแหน่งนายกรัฐมนตรี

การเรียกร้องประชาธิปไตยที่รุนแรงขึ้น จุดชนวนให้เกิดการเคลื่อนไหวต่อต้านญี่ปุ่น มีกระแสต่อต้าน ธุรกิจญี่ปุ่นซึ่งเข้ามาลงทุนตามนโยบายของรัฐบาลทหารว่า เอาเปรียบแรงงานไทยด้วยการให้ค่าแรงที่ด่ำ เมื่อนายกรัฐมนตรี ทานากะ คาคุเอ มาเยือนไทยอย่างเป็นทางการในเดือนมกราคม พ.ศ. 2517 มีผู้ชุมนุม ออกมาประท้วงโดยการห้อมล้อมบริเวณที่พักว่า การมาครั้งนี้เป็น “การรุกรานทางเศรษฐกิจ”

ประจวบเหมาะกับวิกฤตขาดแคลนน้ำมัน ที่เกิดขึ้นช่วงการยุติสงครามตะวันออกกลางครั้งที่ 4 (October War) แม้ค่าครองชีพจะพุ่งสูงขึ้น แต่ค่าแรงขั้นต่ำของคนงาน ได้รับเพียงวันละไม่เกิน 12 บาทเท่านั้น

ช่วงนี้เองที่คุณพ่อนำละครเรื่อง “เปาบุ้นจิ้น” มาออกอากาศ และได้รับความนิยมจนกลายเป็น ปรากฏการณ์ทางสังคม เพราะเนื้อหาตรงใจผู้คนที่โหยหาความถูกต้องและยุติธรรมนั่นเอง

ภาพจาก SANOOK

การคว่ำบาตรผลิตภัณฑ์ของญี่ปุ่นก็เริ่มขึ้นเช่นกัน แบรนด์ดังอย่าง Ajinomoto Kao และ Panasonic ตกเป็นเป้าหมาย เครือสหพัฒน์ก็ได้ร่วมธุรกิจกับบริษัทญี่ปุ่นอยู่หลายแห่ง แต่โชคดีที่สินค้าของเราไม่ตกเป็นเป้าหมาย เพราะ Lion Pias Wacoal ฯลฯ ไม่ติดภาพลักษณ์ของความเป็นแบรนด์ญี่ปุ่นมากนัก และ ถึงจะเป็นบริษัทร่วมทุนกับญี่ปุ่น แต่สหพัฒน์ก็เป็นคนดูแลด้านการบริหาร

ถึงกระนั้นก็ใช่ว่าจะสามารถนิ่งนอนใจอยู่ได้ ด้วยไม่รู้ว่าจะพุ่งเป้ามาที่เราเมื่อไร บริษัทญี่ปุ่นในขณะนั้น เพิ่งเริ่มขยายออกต่างประเทศ แทนที่จะคิดหยั่งรากในประเทศไทย บริษัทญี่ปุ่นต้องการที่จะได้เงินลงทุนคืน เร็วๆ และชาวญี่ปุ่นที่ถูกส่งมาก็ต้องการกลับไปประเทศญี่ปุ่นโดยเร็วด้วย สมัยนั้นแนวคิดเรื่องความรับผิดชอบ ต่อสังคมขององค์กร (CSR) ยังน้อยมาก

ประเทศไทยนับถือศาสนาพุทธ มีวัฒนธรรมของการทำบุญ ฉันแนะนำบริษัทคู่ค้าญี่ปุ่นว่า “จากนี้ไป การช่วยเหลือสังคมจะมีความสำคัญ” แม้ตอนแรกยังมีความรู้สึกกังขา แต่ไม่นานพวกเขาก็เข้าใจความตั้งใจ ของฉัน ตัวอย่างเช่น บริษัทที่ร่วมทุนกับ Lion ได้บริจาคผลิตภัณฑ์ของตนให้กับโรงเรียน และให้ความรู้ แก่นักเรียนเกี่ยวกับวิธีการล้างมือและแปรงฟัน ซึ่งก็ยังเป็นกิจกรรมที่ยังคงดำเนินมาจนถึงปัจจุบัน

ฉันคิดไตร่ตรองท่ามกลางสังคมไทยที่วุ่นวาย ประชาชนสูญเสียความเชื่อมั่นในรัฐบาล ดังที่เห็นได้ จากเหตุการณ์ชุมนุมเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม หรือขบวนการต่อด้านญี่ปุ่น หลายบริษัทกังวลเกี่ยวกับปัญหา ด้านแรงงาน มีการนัดหยุดงานหลายครั้งเพื่อเรียกร้องให้มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงาน

สาเหตุหนึ่ง น่าจะมาจากการกระจุกตัวในกรุงเทพฯมากเกินไป เมื่อมองไปต่างประเทศ แทบไม่มี บริษัทไหนที่สำนักงานใหญ่และโรงงานตั้งอยู่ในเมืองด้วยกัน ไม่ช้าก็เร็วโรงงานจะต้องแยกตัวไปยังพื้นที่ ชนบท เช่นนั้นแล้วทำไมเราถึงไม่เตรียมตัวเสียตั้งแต่ตอนนี้ล่ะ แนวคิดธุรกิจแบบใหม่ การพัฒนาและ การจัดสร้างนิคมอุตสาหกรรมก็ผุดขึ้นอย่างไม่ขาดสาย

ประธานเครือสหพัฒน์
หมายเหตุ : บทสัมภาษณ์คุณบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา
ในคอลัมน์ Watashi no Rirekisho (My Personal History)
หนังสือพิมพ์ Nihon Keizai Shimbun (Nikkei Newspaper)
July 2021

Related

Lastest