“ร่วมมือกันกับ Lion ตั้งโรงงานขายแชมพูแบบผง”
ในปี พ.ศ. 2503 ฉันได้กลับกรุงเทพฯ หลังจากอาศัยอยู่ที่โอซาก้ามา 6 ปี บริษัท สหพัฒนพิบูล กำลังไปได้ดี แต่ฉันยังไม่มีตำแหน่งงานอะไรให้ทำเป็นทางการในบริษัท คุณพ่อบอกว่า “ให้ทำอะไรก็ได้ที่ อยากจะทำา” ดังนั้น ฉันจึงตัดสินใจทำงานในโรงงานบรรจุแชมพูผงของ บริษัท Lion จากญี่ปุ่น ซึ่งเพิ่งเริ่ม เปิดดำเนินการปี พ.ศ. 2504
การทำงานกับ Lion ได้สร้างความสัมพันธ์และความไว้วางใจกัน มีส่วนสำคัญในการพัฒนาเครือ สหพัฒน์ในเวลาต่อมา
ย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ. 2499 ฉันซึ่งต้องกลับมาประเทศไทยชั่วคราวเพื่อต่ออายุวีซ่า ได้รับแจ้ง จากญี่ปุ่นว่าจะมีคนของ “Lion Toothpaste” มาขอพบ และพ่อได้สั่งให้ฉันไปรับเขาที่สนามบินดอนเมือง
ในเวลานั้น “Lion toothpaste” และ “Lion Fat and Oil” ที่ผลิตสบู่และผงซักฟอก ยังเป็นคนละ บริษัทกัน ซึ่งทั้งสองบริษัทได้ควบรวมกันเป็นบริษัท Lion ในปัจจุบันในปี พ.ศ. 2523
คุณอัตสึชิ โคบายาชิ ซึ่งต่อมาได้สืบทอดเป็นประธานของ “Lion Toothpaste” และกลายมาเป็น ประธานคนแรกของ Lion ได้ปรากฏตัวที่ห้องพักผู้โดยสารสนามบิน ตอนนั้นเขาเพิ่งอายุประมาณ 30 ต้นๆ เท่านั้น คุณโคบายาชิได้แวะมาดูสถานการณ์ที่ประเทศไทย โดยแวะเปลี่ยนเครื่องที่ลอนดอน หลังจบการศึกษา จากประเทศอเมริกา บริษัทเคียวโกในโอซาก้าซึ่งเริ่มมีชื่อเสียงในฐานะตัวแทนส่งออกสินค้าได้ติดต่อผ่าน บริษัทมา
พ่อของฉันคุยถูกคอกับคุณโคบายาชิ ได้สั่งซื้อยาสีฟันแบบหลอดประมาณ 200 โหล เพื่อทดลองชาย แต่ขายไม่ดี เนื่องจากในประเทศไทย ณ เวลานั้น ยาสีฟัน Colgate ของสหรัฐฯ ได้รับความนิยมมาก ส่วนผลิตภัณฑ์ Lion มีฟองน้อย ทำให้ต้องใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะขายจนหมด
อย่างไรก็ตาม เพื่อรักษาสายสัมพันธ์ เมื่อฉันกลับไปญี่ปุ่นพ่อได้ให้ฉันไปเยี่ยมโรงงาน Lion Toothpaste และ Lion Fat and Oil ตามคำแนะนำของคุณโคบายาชิ ตัวพ่อของฉันเองก็ไปเยี่ยมโรงงาน ที่ญี่ปุ่นอยู่หลายครั้ง
พ่อของฉันมีความคิดที่จะนำเข้าและขายแชมพูแบบผง เนื่องจากในสมัยนั้น การสร้างถนนหนทาง ในประเทศไทยเป็นไปอย่างล่าช้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนบทจะมีฝุ่นคละคลุ้งจากถนนลูกรัง ทำให้ผมของ คนไทยถูกเรียกว่า “ผมแดง” หลายคนยังสระผมด้วยผงซักฟอกและสบู่ล้างจานซึ่งอันตรายมาก
ตอนนั้นแชมพูแบบผงที่ขายในไทยมีเพียงแชมพูแฟซ่าของ Kao เท่านั้น คุณพ่อได้ส่งตัวอย่าง แชมพูแฟซ่ามาให้ฉันซึ่งอยู่โอซาก้า และฉันได้นำไปให้ Lion Fat and Oil แล้วถามว่าสามารถผลิตได้ไหม คำตอบคือ “สามารถทำได้” ฉันจึงสั่งออเดอร์ 12,000 กล่องต่อเดือน ปรากฏว่าสินค้านี้ขายดี ดังนั้นฉันจึง เพิ่มจํานวนสั่งสินค้าขึ้นอีกเป็นสองเท่า
ในระยะแรก ได้นำเข้าในรูปแบบผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปมาจําหน่าย แต่โครงสร้างเศรษฐกิจของไทย เริ่มมีการเปลี่ยนแปลง ในปี พ.ศ. 2503 ที่ฉันกลับประเทศไทย รัฐบาลได้ออกกฎหมายส่งเสริมการลงทุน และขึ้นภาษีนำเข้าภายใต้นโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อทดแทนการนำเข้าสินค้า ทำให้ภาษีศุลกากร สำหรับแชมพูแบบผงก็เพิ่มขึ้นจาก 50% เป็น 75% หากสั่งของมาขายแบบเดิมจะไม่สามารถทำกำไรได้ แต่ถ้าเพิ่มราคาขายก็จะไม่สามารถขายได้เช่นกัน
ฉันเสนอว่า “ทำไมไม่ลองทำกระบวนการบรรจุผลิตภัณฑ์ด้วยตัวเองล่ะ” หากซื้อแชมพูแบบผง เป็นแค่ “วัตถุดิบ” ภาษีศุลกากรจะอยู่ที่ 30% และมาแบ่งบรรจุเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป กำไรจะไม่ลดลงและ ไม่จําเป็นต้องขึ้นราคา
เนื่องจากเราไม่มีประสบการณ์เรื่องโรงงานผลิต สหพัฒน์จึงเป็นผู้ลงทุนจัดตั้งโรงงาน และทาง Lion Fat and Oil ได้ส่งช่างเทคนิคมาจากญี่ปุ่น ให้คำแนะนำตั้งแต่การก่อสร้างจนถึงสายการผลิตและการผสมกลิ่น ในขณะบรรจุ จนเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปออกจําหน่าย ซึ่งทำาให้สามารถมีส่วนแบ่งในตลาดแชมพูผง ตามแฟซ่าทีเป็นเจ้าตลาดได้ดี
รูปตึกนี้ คือโรงงานไลอ้อน อยู่ที่วัดดอกไม้
ช่วงเวลานั้น ส่วนใหญ่ฉันค้างที่โรงงานและไม่ค่อยได้กลับบ้าน ถึงฉันจะไม่มีตำแหน่งเป็นทางการ แต่คิดว่าพนักงานคนอื่นๆ ก็รู้ว่าฉันเป็นลูกชายของเจ้าของ สิ่งที่ฉันได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติงานจริงเกี่ยวกับ วิธีทำการค้าในสมัยที่อยู่โอซาก้า และได้เรียนรู้การผลิตด้วยการพัฒนากระบวนการบรรจุแชมพูผงด้วยมือ ตัวเอง เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาอย่างรวดเร็วต่อไปของสหพัฒน์
ประธานเครือสหพัฒน์
หมายเหตุ : บทสัมภาษณ์คุณบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา
ในคอลัมน์ Watashi no Rirekisho (My Personal History)
หนังสือพิมพ์ Nihon Keizai Shimbun (Nikkei Newspaper)
July 2021