INSIDE-INTRENDS
#เทรนด์ธุรกิจที่น่าสนใจ2024
#เทรนด์ธุรกิจที่ลดช่องว่างระหว่าง Gen ให้น้อยลง
เทรนด์ธุรกิจที่มีลักษณะเฉพาะ จะยิ่งช่วยให้ตอบสนองต่อกลุ่มผู้บริโภคในทุกๆ Gen มากยิ่งขึ้น เพราะความแตกต่างของผู้บริโภคในแต่ละ Gen ที่ตอบสนองต่อสินค้าหรือบริการกำลังลดลงเรื่อยๆ หรือพูดง่ายๆ ว่า ไม่ว่าวัยไหนๆ ก็มีความกล้าเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น และเป็นตัวของตัวเองมากกว่าที่จะตามกระแสสังคมเหมือนสมัยก่อนๆ ดังนั้นธุรกิจที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง จะดึงดูดและตอบโจทย์ให้กับผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น
วันนี้ #PRINSIDE ชวนคุณมารู้จัก GEN ของผู้บริโภค ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่คนทำธุรกิจต้องทราบกันค่ะ
1. Baby Boomer (1946-1964)
การแพร่ระบาดเป็นปัญหาที่ท้าทายและคุมคามการใช้ชีวิตของกลุ่ม Baby Boomer มากที่สุด ทั้งเรื่องสุขภาพและการใช้ชีวิต ซึ่งการกักตัวอยู่บ้านนานกว่า 2 ปีทำให้แผนใช้ชีวิตหลังเกษียณเปลี่ยนไป การเข้าถึงใจผู้บริโภคกลุ่มนี้ให้ดีกว่าเดิมต้องใช้กลยุทธ์ The Zoom effect เพราะคนกลุ่มนี้หันมาใช้ Digital มากขึ้น การสำรวจของ NRF พบว่า Baby boomer 47% ท่องโลก Social Media สูงขึ้นเพื่อลดความโดดเดี่ยวและยังเชื่อมต่อกับครอบครัวได้อีกด้วย โดย 75% มีบัญชี Facebook ของตัวเอง และชอบแชร์ข้อมูลไปยังเพื่อนๆ topic ที่พวกเขาสนใจ คือ เรื่องสุขภาวะ อาหารการกิน การท่องเที่ยวข่าวสารบ้านเมือง และการลงทุน ที่น่าสนใจคือ พวกเขาตระหนักถึงปัญหา “โลกร้อน” มากพอๆ กับเด็กรุ่น “Gen Z” และ “Gen Y”
2. Generation X (1965-1980)
สำหรับชาว Generation X ขึ้นชื่อเรื่องการเติบโตอย่างอิสระโดยพึ่งพาตนเองยึดถือการจัดการตารางชีวิตที่มีประสิทธิภาพเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายสำหรับสมาชิกภายในบ้าน หากแปลงมีของสมนาคุณหรือการสะสมแต้มคนกลุ่มนี้นี่แหละจะเก็บครบเป็นคนแรกๆและเป็นอีกหนึ่งคนที่จะจงรักภักดีต่อแบรนด์ Topic ที่พวกเขาสนใจ จะเชื่อมโยงกับบั้นปลายชีวิตเช่น บำเหน็จบำนาญ กองทุน สุขภาพ ความสวยความงามการดูแลตัวเองจากภายในและภายนอก การเงิน/การออม หรือประกันสุขภาพ เป็นต้น ด้วยความที่ Generation x อยู่กึ่งกลางระหว่าง กลุ่ม Baby boomer กับ Generation y ทำให้พวกเขา มีบทบาทสำคัญในการเข้าถึงและสานสัมพันธ์คนต่าง Generation ได้ดี อีกทั้งยังมีเครือข่ายทางสังคมในถิ่นที่อยู่อาศัยติดต่อกันยาวนาน ทำให้คนกลุ่มนี้ เป็นผู้นำในด้านต่างๆ และมีส่วนช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์ในชุมชนเติบโต และกระจายไปยังผู้บริโภคกลุ่มอื่นๆ ในเวลาอันรวดเร็ว
3. Generation Y (1980-1995)
หากพูดถึง Pop culture กลุ่ม Gen Y ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมอย่างเห็นได้ชัด คน Generation นี้ โดดเด่นในเรื่องการเป็นนักสู้ไม่ยอมแพ้ ยืดหยุ่นปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และเต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ทำให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ที่ช่วยแก้ปัญหาให้คนยุคนี้ แม้จะไม่ใช่กลุ่มที่ร่ำรวยหรือมีประสบการณ์การทำงานมากที่สุด ทว่า สิ่งที่พวกเขาสนใจก็คือ อสังหาริมทรัพย์และการลงทุน สินค้าเกี่ยวกับบ้าน ทั้งการตกแต่งและเครื่องใช้ภายในบ้าน พวกเขาเลือกที่จะแต่งห้องด้วยแนวคิดแบบชีวิตสโลว์ไลฟ์ เลือกโทนสีที่สะท้อนตัวตนอย่างชัดเจน เฟอร์นิเจอร์สไตล์มินิมอล เรียบง่าย Topic ที่ชาว Gen Y สนใจมักเกี่ยวกับการการขับเคลื่อนสังคม การทำกิจกรรมกลางแจ้ง ตั้งแคมป์ ไปคาเฟ่ เดินป่า หรือดำน้ำ ชอบแสวงหาประสบการณ์ใหม่ๆ ทั้งการอัปเดคเทรนในโลกออนไลน์ แน่นอนว่าคนกลุ่มนี้ยังสนใจเรื่องสุขภาพจิตและการมีคุณภาพชีวิตที่ดี พวกเขามองหากิจกรรมที่ช่วยสร้างสมดุลให้ชีวิตการทำงานและชีวิตหลังเลิกงาน เช่น การผ่อนคลายด้วยเสียง asmr เข้าฟิตเนสสม่ำเสมอ กินอาหารคลีน เป็นต้น ผลสำรวจจาก Deloitte Global 2021 Millennial and Gen Z Survey ระบุว่า 42% ของคนเจนนี้ ได้ทำความเข้าใจธุรกิจในเชิงลึก เพราะเชื่อว่าสินค้าหรือบริการสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกให้กับสังคมได้ ดังนั้น แบรนด์ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นเจนนี้ ควรแสดงจุดยืนความจริงใจ และความซื่อสัตย์อย่างชัดเจน
4. Generation Z (1996-2012)
กลุ่ม Gen Z เติบโตท่ามกลางความกดดัน ในสภาวการณ์สังคมยุ่งเหยิง สอดคล้องกับเทคโนโลยีและ Social Media ที่สามารถโพสหรือแชร์ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้คนเจนนี้มีช่องทางการเข้าถึงสื่อได้มากกว่าคนอื่นๆ การแสดงความคิดเห็นหรือลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างเพื่อสังคม ไม่ใช่แค่การวิจารณ์ผ่านหน้าจอ แต่พร้อมจะลงมือทำทำให้คน Gen Z ถูกยกให้เป็น “เจนแห่งความหวัง” จากรายงานของ WGSN ระบุว่า คน Gen Z ยินดีคว่ำบาตรแบรนด์ที่ไม่มีมาตรการจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อม หรือรับผิดชอบต่อสังคม และก็พร้อมสนับสนุนแบรนด์สินค้ารักษ์โลก หรืองานคร้าบจากท้องถิ่นโดยเฉพาะสินค้ามือสองคุณภาพดี จะได้รับความนิยมเป็นพิเศษ นับตั้งแต่เกิดโรคระบาด กระแสการทำคอนเทนต์ยูทูปได้รับความนิยมมากขึ้นในกลุ่ม Gen Z โดยช่องที่ได้รับความสนใจสำหรับเด็กยุคนี้ คือช่อง Streaming Game ช่องไลฟ์ขายสินค้าทั้งของใหม่และของมือสอง หรือผลงานที่ออกแบบด้วยตัวเอง งานศิลปะต่างๆ หรือ NFT การมีตัวตนใน Social Media ของ Gen Z เป็นจุดกำเนิดของ Fin-Influencer มาจากคำว่า financial influencer สิ่งนี้สามารถทำเงินได้อย่างรวดเร็วจากสปอนเซอร์หรือแฟนคลับ ทำให้เป็น Z คือนักธุรกิจผู้ทำเงินจากการ Streaming หรือขายของออนไลน์ตั้งแต่อายุน้อย ดังนั้น Topic ที่พวกเขาสนใจจึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเงิน การลงทุน ความรู้เกี่ยวกับการขายสินค้าออนไลน์ เกม เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อมและงานศิลปะ ทั้งนี้ ในเจเนอเรชันเดียวกัน ก็ไม่ได้มีลักษณะนิสัยหรือความชอบที่เหมือนกัน เนื่องจากแต่ละคนก็มีประสบการณ์หรือสภาพแวดล้อมการใช้ชีวิตที่ต่างกันไป หากลองสังเกตดูจะพบว่า ประชากรปลายเจนฯ หนึ่งๆ มีความคล้ายคลึงกับคนต้นเจนฯ ถัดไปมากกว่าคนเจนฯ เดียวกันเสียอีก เช่น เจนฯ Y ที่เกิดปี 1996 มีไลฟ์สไตล์คล้ายกับคนเจนฯ Z ที่เกิดปี 1997 ก็เป็นไปได้
ในทางการตลาดการที่ธุรกิจจะสร้างกลยุทธ์ต่างๆ เราต้องรู้ก่อนว่าเรากำลังจะขายของให้ใคร และใครคือกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ หากคุณรู้ข้อมูลเหล่านี้ จะช่วยวิเคราะห์ธุรกิจของคุณได้่ค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
humansoft.co.th
digimusketeers.co.th