INSIDE HISTORY เปิดประวัติคุณบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา # ตอนที่ 28 : ความร่วมมือ กับเกาหลีและจีน 

“วิถีธุรกิจที่ชวนตกใจ เสน่ห์ของการตัดสินใจอันรวดเร็ว”
ฉันได้เล่าถึงเครือสหพัฒน์ที่เน้นการร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่นไปแล้ว แม้เราจะมีการร่วมทุนกับ ประเทศอื่นไม่มาก แต่ฉันอยากจะเล่าถึงเกาหลีใต้และจีนสักหน่อย

จุดเริ่มดันกับ Samsung Electronics ในเกาหลีใต้ เกิดจากงานอดิเรก การขับเครื่องบินขนาดเล็ก ที่ฉันได้เล่าไว้ก่อนหน้านี้ว่าฉันอยู่ในชมรมคนรักเครื่องบินขนาดเล็กในศรีราชา ลูกชายของผู้รับผิดชอบที่ นั่นทำงานอยู่ที่บริษัทเทรดดิ้งในเครือซัมซุงในประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2523

ฉันได้ยินมาว่าเขาต้องการผลิตจอแก้วทีวีขนาด 14 นิ้ว ซึ่งเป็นสินค้าขายดีในไทย แต่ประสบปัญหา เพราะไม่ได้รับการอนุมัติจากภาครัฐ เนื่องจากมีโรงงานผลิตของญี่ปุ่นหลายแบรนด์แล้ว เช่น Toshiba และ SONY ดูเหมือนภาครัฐจะคิดว่าการลงทุนผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าของต่างชาติมีเพียงพอแล้ว สหพัฒน์จึงเป็นผู้ขออนุมัติแทน และในปีพ.ศ. 2531 จึงได้จัดตั้งบริษัทที่สหพัฒน์และซัมซุงถือหุ้นกันคนละครึ่ง

อย่างไรก็ตาม ซัมซุงในขณะนั้นไม่เหมือนซัมซุงในขณะนี้ ไม่ว่าจะทีวีหรือเครื่องซักผ้า ล้วนเป็นของ ราคาถูกคุณภาพยังไม่ดีนัก ด้วยสหพัฒน์เป็นผู้จัดจําหน่าย และช่วงหนึ่งอัตราการร้องเรียนของลูกค้ามีมากถึง 30% ฉันจึงต้องขอร้องให้ซัมซุงปรับปรุงสินค้าหลายครั้ง เพราะมีผลกับความน่าเชื่อถือของเรา 

ต่อมา ในช่วงเวลาที่เกิดวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งในปี พ.ศ. 2540 เราไม่สามารถตอบรับการเพิ่มทุนได้

สัดส่วนการลงทุนของเราจึงลดลงเหลือ 10% ซัมซุงก็เริ่มจัดจําหน่ายสินค้าเอง หลังจากนั้นซัมซุงก็พัฒนา อย่างก้าวกระโดด ปัจจุบันความนิยมของสินค้าซัมซุงในไทยแซงหน้าสินค้าที่ผลิตโดยบริษัทญี่ปุ่นแล้ว และเงินปันผลที่เราได้รับนั้นสูงกว่าเมื่อตอนเราลงทุน 50% เสียอีก

สิ่งที่ทำให้ฉันประหลาดใจกับซัมซุง คือ ความแตกต่างในวัฒนธรรมการทำธุรกิจระหว่างเกาหลีและ ญี่ปุ่น ซึ่งเกาหลีไม่มีอารมณ์มาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นความสนิทสนมส่วนตัวหรือความสัมพันธ์ระยะยาว ทุกอย่าง ล้วนเป็นธุรกิจ

Lee Kun-hee ประธานบริษัทคนก่อนที่เสียชีวิตไปเมื่อปีที่แล้ว เป็นคนที่สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้ ซัมซุง ซึ่งฉันก็ได้พบกับเขาเพียงครั้งเดียวเท่านั้น พูดตามตรงฉันไม่มีความประทับใจที่ดีนัก หลังจากการ ก่อตั้งบริษัทร่วมทุน เขามาที่ประเทศไทยเพื่อพบกับคุณพ่อเทียม ในระหว่างรับประทานอาหารค่ำ มีเพียง ลูกน้องของเขาเท่านั้นที่ร่วมสนทนา ส่วนเจ้าตัวนิ่งเงียบ ต่อมาเมื่อฉันไปเยี่ยมบริษัทแม่ที่โซล เขาก็ไม่ออกมาพบ ดังนั้น เวลาผู้บริหารชาวเกาหลีจากซัมซุงประเทศไทยจะมาพบฉัน ฉันก็จะไม่พบเขาเช่นกัน

ในส่วนของจีน ปี พ.ศ. 2547 เราได้ร่วมมือกับผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์กระดาษ Anbao Group เมื่อตอนที่ ฉันได้เข้าเยี่ยมชมโรงงานกับ คุณพิพัฒ ประธานบริษัท Thai President Foods (TF) ฉันได้ตอบรับความ ต้องการของเขาที่จะขยายตลาดสู่ประเทศไทย และได้ก่อตั้งโรงงานร่วมทุนด้วยกัน

สมัยก่อน ถ้วยโฟมเป็นที่นิยมใช้เป็นบรรจุภัณฑ์บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในญี่ปุ่น แต่เนื่องจากต้นทุนสูง ในประเทศไทยจึงใช้ถ้วยทำจากพลาสติกมาโดยตลอด ซึ่ง Anbao มีเทคโนโลยีที่ทำภาชนะกระดาษสองชั้น ให้มีคุณสมบัติกันความร้อนที่ดีเยี่ยม ผลิตได้จํานวนมากและราคาถูกกว่าพลาสติก TF จึงเป็นเจ้าแรกที่นำภาชนะกระดาษมาใช้ใส่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในประเทศไทย

ในปัจจุบัน บริษัทที่เราร่วมธุรกิจกับจีนก็มีแค่ Anbao เท่านั้น อาจจะแปลกใจว่าทั้งที่ฉันมีเชื้อสายจีน ธุรกิจจีนเริ่มขยายเข้ามาในประเทศไทย เจริญโภคภัณฑ์ (CP) ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทเชื้อสายจีนเช่นกันนั้น ก็ได้ขยายธุรกิจเข้าสู่จีนแผ่นดินใหญ่ตั้งแต่ระยะแรก ส่วนสหพัฒน์นั้นยังขาดบุคลากรที่ใช้ภาษาจีนได้ดี

อย่างไรก็ตาม จีนเป็นตลาดที่น่าสนใจอย่างแน่นอน หากได้พบพันธมิตรที่ดี ฉันก็คิดว่าจะร่วมพัฒนา ธุรกิจในประเทศจีนอย่างแน่นอน

ในแง่ของการเคารพและความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ฉันรู้สึกว่าญี่ปุ่นมีความใกล้ชิดกับวัฒนธรรม เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่าเกาหลีใต้และจีน อย่างไรก็ตาม ความเร็วในการตัดสินใจของจีนและ เกาหลีนั้นถือว่าเป็นเสน่ห์ของการทำธุรกิจ ตอนนี้ญี่ปุ่นมีภาพลักษณ์ของ “การคงรักษาไว้” เป็นหลัก แต่จีน และเกาหลีใต้มีจุดยืนของ “การรุกก่อน” ที่ชัดเจน เราจะยังคงความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบริษัทญี่ปุ่นต่อไป แต่ในอนาคตอาจมีโอกาสมากขึ้นที่จะเลือกบริษัทและเกาหลีเป็นหุ้นส่วนก็เป็นได้

ประธานเครือสหพัฒน์
หมายเหตุ : บทสัมภาษณ์คุณบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา
ในคอลัมน์ Watashi no Rirekisho (My Personal History)
หนังสือพิมพ์ Nihon Keizai Shimbun (Nikkei Newspaper)
July 2021

Related

Lastest