“โรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นที่มีนักเรียนกว่า 30,000 คน
โรงเรียนเฉพาะทางสําํหรับดีไซเนอร์”
ฉันและเครือสหพัฒน์สานสัมพันธ์กับญี่ปุ่นอย่างแน่นแฟ้นจนมาถึงจุดนี้ ฉันจึงอยากให้คนไทย ได้รู้จักประเทศญี่ปุ่นมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ ฉันคิดว่าเพื่อตอกย้ำการเป็นสะพานเชื่อมธุรกิจระหว่างไทยและ ญี่ปุ่น การศึกษาเป็นหนึ่งในสิ่งที่ต้องท่า
จุดเริ่มต้น คือ ช่วงกลางทศวรรษ พ.ศ. 2530 ฉันมีแผนพัฒนาที่ดินที่เรามีอยู่ขนาด 3.2 ตร.กม. ที่ ศรีราชา ในภาคตะวันออกที่เราได้เริ่มพัฒนาสวนอุตสาหกรรมไปแล้ว ฉันคิดว่าเราควรเชิญโรงเรียน นานาชาติมาเปิด เนื่องจากในขณะนั้นประเทศไทยมีโรงเรียนนานาชาติน้อยมาก
ครั้งแรก ฉันคิดต่อไปที่มหาวิทยาลัยเอกชน Keio โดยผ่านกรรมการของบริษัทไลอ้อนที่สนิทสนมกัน แต่ถูกปฏิเสธ ต่อมา ฉันได้ไปพบอธิการบดี ทาคายาส โอคุชิมะ แห่งมหาวิทยาลัย Waseda ซึ่งผ่านการ แนะนําจาก Wacoal และในเดือนเมษายนปี พ.ศ. 2540 คุณโอคุชิมะบินมาประเทศไทย เราได้พาไปดู สถานที่แล้ว แต่ทว่าสามเดือนต่อมา วิกฤตการณ์สกุลเงินเอเชียได้ปะทุขึ้น เรื่องการสร้างโรงเรียนจึงหยุด ลง
เราเริ่มติดต่ออีกครั้งในปี พ.ศ. 2545 ฉันยื่นข้อเสนอไปให้อธิการบดีคนใหม่ คัตสึฮิโกะ ชิราอิ แต่จังหวะไม่ดี วาเซดะเพิ่งลงทุนกับโรงเรียนมัธยมเอกชนญี่ปุ่นในสิงคโปร์และตั้งให้เป็นโรงเรียนสาขา หลังจากหารือกันแล้ว จึงตัดสินใจว่าจะสร้างเป็นโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่น หลังจากนั้นเราได้ก่อตั้งบริษัท ร่วมทุนโรงเรียนภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่น “วาเซดะ เอดูเคชั่น ประเทศไทย” ขึ้น โดยมีสำานักงานตั้งอยู่
ใจกลางกรุงเทพฯ
ในเวลานั้น ประเทศไทยยังขาดโรงเรียนที่นักเรียนสามารถเรียนภาษาญี่ปุ่นอย่างจริงจัง ฉันอยากที่จะ สร้างสถานที่แบบนั้นให้กับเด็กไทย ฝ่ายวาเซดะที่ให้ความร่วมมือในการจัดหลักสูตร และจัดส่งครู ก็มีเป้าหมายที่ จะสานสัมพันธ์กับกลุ่มนักเรียนไทย เพื่อไปเรียนต่อที่ประเทศญี่ปุ่นเช่นกัน ซึ่งขณะนั้นหากจะเดินทางไป ญี่ปุ่นยุ่งยาก ยังจำเป็นต้องขอวีซ่า
ด้วยมาตรฐานการเรียนภาษาญี่ปุ่นของเราสูงมาก ท่าให้มีนักเรียนมาสมัครน้อย ฉันให้กำาลังใจ อาจารย์โดยบอกว่า “อย่ากังวลเรื่องขาดทุน ขอให้อาจารย์ให้การศึกษาที่มีคุณภาพก็พอแล้ว”
แทนที่จะลดค่าเล่าเรียนเพื่อเพิ่มจํานวนนักเรียน ในทางกลับกันเรากำาหนดค่าเรียนให้สูงและเลือก ผู้ที่มีความตั้งใจจริง ๆ จุดมุ่งหมาย คือ ” เรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นได้มากกว่าไปเรียนที่ประเทศญี่ปุ่น” ลูก ๆ ของ ฉันเองก็เรียนภาษาญี่ปุ่นที่นี่ด้วยเช่นกัน
โรงเรียนเริ่มมีชื่อเสียงและได้รับความนิยมมากขึ้น จึงเปิดสาขาที่ศรีราชาในปี พ.ศ. 2554 และ ที่เชียงใหม่ในปี พ.ศ. 2558 มีครูชาวญี่ปุ่นมากกว่า 20 คน และก่อนการระบาดของไวรัสโคโรน่ามีนักเรียน ประมาณ 1,000 คน จนถึงปัจจุบันเราได้ผลิตบุคลากรที่รู้ภาษาญี่ปุ่นไปมากกว่า 30,000 คน
ในปี พ.ศ. 2548 ด้วยวัตถุประสงค์ที่จะสร้างดีไซเนอร์ชาวไทย ฉันจึงตั้งโรงเรียนด้านแฟชั่นร่วมกับ โรงเรียนเฉพาะทางที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่น คือ Bunka Fashion College ขึ้นในกรุงเทพฯ ในฐานะโรงเรียน สาขาด่างประเทศ หรือจะเรียกว่าเป็นแฟรนไชส์ก็ได้ โรงเรียนที่ก่อตั้งนี้เครือสหพัฒน์เป็นผู้ลงทุนทั้งหมด ในขณะที่ทาง Bunka Fashion College เป็นผู้กำาหนดหลักสูตร และรับคุณครูชาวไทยไปฝึกอบรมที่ประเทศ ญี่ปุ่น
หากถามว่าท่าไมถึงเป็นโรงเรียนจากญี่ปุ่น ไม่ใช่อิตาลีหรือฝรั่งเศสซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดแฟชั่น นั่น เป็นเพราะสายสัมพันธ์กับผู้ร่วมทุนของเรานั่นเอง ฉันได้รับข้อเสนอแนะจาก Itokin บริษัทเครื่องแต่งกาย รายใหญ่ว่า “หากจะยกระดับอุตสาหกรรมแฟชั่นของไทย จะต้องเริ่มจากการให้การศึกษากับคนด้วย” และฉันก็เห็นด้วย และด้วยความพยายามของบริษัท เราจึงสามารถเชื้อเชิญโรงเรียนที่มีชื่อเสียงที่ผลิต
นักออกแบบระดับโลกมากมาย เช่น Yohji Yamamoto และ Kenzo Takada มาได้ ประเทศไทยในขณะนั้น สาขาออกแบบแฟชั่นมีสอนในมหาวิทยาลัยบางแห่งเท่านั้น หากอยาก ศึกษาแฟชั่นอย่างจริงจังต้องไปศึกษาต่อต่างประเทศ การเข้ามาของ Bunka Fashion College เปิดประตู
ให้คนหนุ่มสาวจํานวนมากที่สนใจงานออกแบบ เทคโนโลยีการผลิตกระดาษแพทเทิร์นแบบญี่ปุ่นนั้นมีข้อดี
คือ สามารถน่าไปใช้กับคนไทยที่มีรูปร่างใกล้เคียงกันได้ทันที
หลายคนเรียนรู้พื้นฐานในกรุงเทพฯ และไปศึกษาต่อที่โรงเรียนหลักในโยโยง กรุงโตเกียว ตั้งแต่ เปิดโรงเรียนมา 16 ปี มีผู้เรียนจบไปแล้วเกือบ 10,000 คน ฉันรู้สึกภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในโลกแฟชั่นของ ไทย
ประธานเครือสหพัฒน์
หมายเหตุ : บทสัมภาษณ์คุณบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา
ในคอลัมน์ Watashi no Rirekisho (My Personal History)
หนังสือพิมพ์ Nihon Keizai Shimbun (Nikkei Newspaper)
July 2021