INSIDE HISTORY เปิดประวัติคุณบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา # ตอนที่ 20 : งานอดิเรกและผลประโยชน์ 

“ขับเครื่องบินเพื่อคลายเครียด ศึกษาคอมพิวเตอร์ด้วยตัวเอง ใช้ข้อมูลให้เป็นประโยชน์”

จนถึงตอนนี้เหมือนกับว่าฉันจะพูดถึงแต่เรื่องงาน คราวนี้เลยอยากจะเล่าเกี่ยวกับงานอดิเรกทั้งสองอย่าง ของฉัน

อย่างแรกคือการขับเครื่องบินขนาดเล็ก ในปี พ.ศ. 2520 ช่วงกำลังพัฒนาสวนอุตสาหกรรม ฉันในวัย 40 ปี ได้ใช้เวลาหนึ่งปีเพื่อขอใบอนุญาตขับเครื่องบิน จุดเริ่มต้นมาจากตอนที่ฉันไปทานอาหารที่ชายทะเล ใกล้กรุงเทพฯ เห็นเรือเล็กที่มีคนหลายสิบคนถูกพัดขึ้นฝั่งและถูกตำรวจควบคุมตัวในปี พ.ศ. 2518 หลัง สงครามเวียดนามสิ้นสุดลง รวมถึงกัมพูชาและลาว สามประเทศในอินโดจีน ที่การปกครองถูกเปลี่ยนเป็น ระบบสังคมนิยม ผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับระบบใหม่และกลัวการกดขี่ข่มเหงจะหลบหนีมายังประเทศเพื่อนบ้านโดย ทางเรือในฐานะผู้ลี้ภัย เรียกกันว่า “Boat People”

ภาพจาก gotomanager 

ประเทศไทยเป็นฐานทัพทหารสหรัฐฯ ซึ่งพ่ายแพ้แก่ทหารเวียดนามใต้ มีข่าวลือหนาหูว่า “สักวันหนึ่ง

กองทัพเวียดนามก็จะบุกเข้ามา” ฉันมีความคิดว่า “ถ้าต้องหนี เครื่องบินน่าจะเร็วกว่า ยิ่งถ้าขับได้เองยิ่งดี”

ฉันจึงเริ่มใช้เวลาสองวันหนึ่งคืนในช่วงสุดสัปดาห์ เข้าเรียนที่โรงเรียนสอนขับเครื่องบินที่หัวหิน หลังจาก

เสร็จสิ้นการฝึกบิน 40 ชั่วโมง ฉันก็สอบได้ใบอนุญาตในครั้งเดียว

แม้ว่าฉันจะมีใบอนุญาตแล้ว แต่ในขณะนั้น ทั้งในนามบริษัทหรือส่วนบุคคลก็ไม่ได้รับอนุญาตให้ ครอบครองเครื่องบิน บังเอิญใกล้ๆ ศรีราชาซึ่งเป็นที่ตั้งของสวนอุตสาหกรรม มีชมรมคนรักการบิน ให้ฉันได้ เช่าเครื่องบินและเพลิดเพลินกับการบินที่นั่น

เนื่องด้วยจํานวนเครื่องบินมีไม่มาก ต้องรอคิวเป็นเวลานานจนหงุดหงิด ดังนั้นฉันจึงออกเงินคนละครึ่ง กับชาวอเมริกัน คุณวิลเลียม ไฮเนกี้ ซื้อเครื่องบินมือสองในนามของสโมสร และผลัดกันขับ เขาอายุน้อย กว่าฉันหนึ่งรอบ เป็นผู้ก่อตั้งบริษัทไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนลท่าธุรกิจโรงแรมหลายแห่ง

การได้บินขึ้นไปบนท้องฟ้าเป็นวิธีคลายเครียดชั้นเยี่ยม แม้บางครั้งจะมีเหตุการณ์น่ากลัว เช่น ตกหลุม อากาศหรือเกือบเกิดอุบัติเหตุ แต่ความสนุกนั้นมีมากกว่า เมื่อกฎห้ามครอบครองเครื่องบินถูกยกเลิกในปี พ.ศ. 2534 ฉันซื้อเครื่องบินใบพัดแบบเครื่องยนต์เดียวสี่ที่นั่ง มีปีกติดกับด้านบนลำตัว รุ่น “Cessna 172” ฉันสร้างรันเวย์ในสวนอุตสาหกรรมแต่ละที่ของสหพัฒน์ และขับเครื่องบินไปที่ต่างๆ ด้วยตนเอง จนกระทั่ง คืนใบอนุญาตขับเครื่องบินตอนอายุ 78 ปี นอกจากนี้ฉันยังก่อตั้งโรงเรียนสอนขับเครื่องบินเพื่อใช้รันเวยให้ เป็นประโยชน์

งานอดิเรกอีกอย่างของฉันคือ คอมพิวเตอร์ เป็นช่วงเดียวกับที่ได้รับใบอนุญาตขับเครื่องบินขนาดเล็ก ฉันสั่งซื้อคอมพิวเตอร์ “TRS-80” ที่ผลิตโดย Radio Shack ผู้บุกเบิกคอมพิวเตอร์ในช่วงแรก มาจากสิงคโปร์ เป็นเงิน 500,000 บาท ในสมัยนั้นสามารถซื้อรถหรูคันหนึ่งได้เลยทีเดียว

ภาพจาก happytechblog.com

คอมพิวเตอร์ “TRS-80” ที่ผลิตโดย Radio Shack

ที่ฉันเริ่มสนใจคอมพิวเตอร์เพราะ ฉันสนิทกับประธานและพนักงานบริษัทที่ให้บริการซ่อมบำรุง เมนเฟรมของ IBM ทีอยู่ข้างๆ บริษัท สหพัฒนพิบูล ทำให้มีโอกาสได้พูดคุยและได้ฟังเรื่องต่างๆ อยู่เสมอ ฉันวางคอมพิวเตอร์ที่สั่งมาไว้ในห้องหนังสือที่บ้าน ฉันไม่ได้มีจุดมุ่งหมายว่าจะใช้มันเพื่ออะไร แค่ซื้อมา เพื่อเรียนรู้วิธีใช้เท่านั้น เวลามีเรื่องที่ไม่เข้าใจฉันจะขอให้คนจากบริษัทข้างๆ มาสอน ฉันยังเรียนวิธีการ เขียนซอฟต์แวร์ด้วยตัวเอง แม้จะเขียนโปรแกรมที่ซับซ้อนไม่เป็น แต่เวลาอยากได้อะไรก็สามารถสื่อสาร กับโปรแกรมเมอร์ได้

ตอนนี้ฉันยังคงจัดเก็บข้อมูลนามบัตรของคนที่เคยพบ ภาพถ่าย บันทึกยาที่ฉันใช้ และอื่นๆ บน คอมพิวเตอร์ และฉันสร้าง format ด้วยตัวเอง เวลาหมอถามว่ากินยาครบหรือเปล่าก็จะเปิดข้อมูลให้ดู

ฉันชอบสิ่งใหม่ๆ ที่คนอื่นยังไม่เคยทำ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบินหรือคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ การจะขับ เครื่องบินจะต้องมีความรอบคอบ การตรวจสอบเชื้อเพลิง เครื่องวัด สภาพอากาศ การสื่อสารกับหอควบคุม อย่างต่อเนื่อง และต้องมั่นใจว่าทุกขั้นตอนจะปลอดภัยจนกว่าจะลงจอด ซึ่งเหมือนกับการทําธุรกิจ และ ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ก็เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาข้อมูลของบริษัทในภายหลัง

ในท้ายที่สุด ไม่ว่าจะงานอดิเรกใดก็เชื่อมโยงเข้ากับงานได้ หากจะพูดว่างานอดิเรกอันดับหนึ่ง ของฉันคือ “การทำงาน” ก็คงไม่ผิดนัก ถ้าพูดให้คนหนุ่มสาวสมัยนี้ฟังคงโดนหัวเราะเยาะเอาเป็นแน่…

ประธานเครือสหพัฒน์
หมายเหตุ : บทสัมภาษณ์คุณบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา
ในคอลัมน์ Watashi no Rirekisho (My Personal History)
หนังสือพิมพ์ Nihon Keizai Shimbun (Nikkei Newspaper)
July 2021

Related

Lastest