INSIDE HISTORY เปิดประวัติคุณบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา # ตอนที่ 15 : ทางเลือกของคุณน้า

“บุรุษผู้เต็มไปด้วยแนวคิด การแยกตัวจากเครือสหพัฒน์

ความเห็นที่แตกต่างเรื่องความสัมพันธ์กับบริษัทคู่ค้า”

ถึงตอนนี้ ถ้ามองย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นของเครือสหพัฒน์จนถึงยุคเจริญเติบโต ท่านผู้อ่านจะ สังเกตเห็นว่า เมื่อเราจะเข้าสู่ธุรกิจใหม่หรือก่อตั้งบริษัทร่วมทุนกับพันธมิตรรายใหม่ เราจะตั้งทีละบริษัท เสมือนกับ “การโตแล้วแตก แตกแล้วโต” นั่นเป็นเหตุผลที่เครือสหพัฒน์มีบริษัทในเครือกว่า 300 บริษัท ในปัจจุบัน

เหตุผลที่ใช้กลยุทธ์ดังกล่าว คงต้องเล่าไปถึงคุณน้าของฉัน ดำหรี ดารกานนท์ ที่แยกตัวจาก สหพัฒน์ไป เขาก่อตั้งกลุ่มสหยูเนี่ยน เป็นกลุ่มธุรกิจชั้นนำของประเทศไทย ดำเนินธุรกิจการผลิตและ ส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอ เสื้อผ้า ชิ้นส่วนเรซิ่น และอื่นๆ อีกมากมาย

คุณดำหริเป็นน้องชายของแม่ที่อายุห่างกันถึง 18 ปี ถึงจะมีศักดิ์เป็นน้าแต่เขาก็แก่กว่าฉันเพียง 5 ปี เขากลายเป็นผู้บุกเบิกด้านการลงทุนภาคอุตสาหกรรมทั้งที่เรียนจบแค่ม.ต้น บางคนก็เรียกเขาว่า “โคโนสุเกะ มัตสึชิตะของประเทศไทย”

เขาเข้ามาทำงานในปี พ.ศ. 2495 ช่วงที่คุณพ่อเปลี่ยนชื่อร้าน “เฮียบเซ่งเชียง” เป็นบริษัท สหพัฒนพิบูล เขาเป็นรุ่นแรกที่ไปประจําในญี่ปุ่น หลังจากกลับมาก็ได้รับเลือกให้เป็นอันดับ 2 ของบริษัท ขณะที่อายุเพียง 22 ปี ซึ่งได้กล่าวไว้แล้วตอนต้น

ไม่ใช่เพราะความเป็นญาติที่เขาได้ตำแหน่งนี้ แต่พ่อของฉันคิดว่าธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค ต้องการคนหนุ่มสาวที่ตามทันยุคสมัยและมีความคิดที่ยืดหยุ่น คุณดำหริได้รับความไว้วางใจอย่างมาก ตัวฉันเองได้รับคำสั่งจากคุณพ่อให้ไป “ศึกษาทุกอย่างจากเขา” ฉันเป็นลูกน้องที่ขึ้นตรงกับคุณดำหริก่อน

ที่จะได้รับมอบหมายให้ไปโอซาก้า

คุณดำหริเข้าใจแฟชั่นและภาษาอังกฤษ แนวคิดทางธุรกิจใหม่ๆ ก็ค่อยๆ ผุดออกมาทีละอย่าง เขามีวิสัยทัศน์ที่มองเห็นโลกในหลายปีข้างหน้าและทำงานไปตามภาพนั้น ยิ่งฉันได้เฝ้าดูเขาใกล้ๆ ยิ่งเห็น ว่าตัวตนของเขาช่างโดดเด่นจริงๆ

ในช่วงแรกการนำเข้าและจําหน่ายซิปซึ่งเป็นสินค้าหลักของ YKK ได้ถูกดำเนินการโดยเขาคนเดียว ไม่นาน YKK ก็ขอให้สร้างโรงงานในประเทศไทย คุณดำหริอยากเริ่มธุรกิจของตัวเองอย่างแรงกล้าจึงขอ แยกตัวจากสหพัฒน์ ซึ่งคุณพ่อก็สนับสนุน ในปี พ.ศ. 2505 คุณดำหริได้ก่อตั้งบริษัทร่วมทุนกับ YKK ซึ่ง คุณพ่อได้ร่วมลงทุนด้วยเงินส่วนตัวและเป็นกรรมการในบริษัทด้วย ฉันที่เพิ่งกลับจากโอซาก้าพบว่า ธุรกิจกับ YKK หายไปและทำให้ยอดขายของสหพัฒน์ลดลงครึ่งหนึ่ง พูดตามตรง ฉันคิดว่านี่เป็นการเสียโอกาส แต่พ่อก็ไม่ได้ใส่ใจนัก

ช่วงแรก ได้อาศัยเทคโนโลยีการผลิตของญี่ปุ่น และใช้ YKK เป็นชื่อผลิตภัณฑ์ หลังจากนั้นก็ผลิต สินค้าชนิดเดียวกันใช้ชื่อว่า “วีนัส” ออกมาขายแข่งกันในตลาด การขัดแย้งระหว่างคุณดำหริ และ YKK ดุเดือดยิ่งขึ้น และท้ายที่สุดการร่วมทุนก็ถูกยกเลิกในปี พ.ศ.2525

ไม่ใช่เพียงธุรกิจชิปเท่านั้น ยังมีธุรกิจปั่นด้ายและสินค้าอื่นๆ ที่เริ่มจากการร่วมทุนและแยกเปิดบริษัท ภายหลังหลายแห่ง การร่วมทุนทำให้ขายได้เฉพาะในประเทศไทย และการส่งออกที่จะสร้างโอกาสแข่งขัน กับคู่ค้าจึงถูกจํากัด สำหรับคุณดำหริที่กำลังมองตลาดโลก การยกเลิกการร่วมทุนหลังจากได้รับความรู้ ทางวิทยาการ (know how) แล้ว คงเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลกระมัง

ความคิดของเขาแตกต่างจากฉันกับพ่อที่ยึดหลัก ร่วมอยู่ร่วมเจริญ โดยการร่วมมือกับผู้ร่วมลงทุน ระยะยาว ช่วงที่เกิดความบาดหมางกับ YKK เป็นช่วงที่เราร่วมลงทุนบริษัทผลิตยาสีฟันและผงซักฟอก ร่วมกับ Lion พอดี บริษัทญี่ปุ่นยังคิดว่าคุณดำหริเป็นคนของสหพัฒน์ ดังนั้นหากความสัมพันธ์ระหว่างเรา กับ Lion ไม่ราบรื่น ความน่าเชื่อถือของสหพัฒน์ก็จะลดลง นั่นยิ่งสร้างความกดดันว่าเราจะพลาดไม่ได้

คุณดำหริก่อตั้งสหยูเนี่ยนเป็นบริษัทโฮลดิ้งในปี พ.ศ. 2515 คุณพ่อได้รับเชิญให้เป็นประธาน และ ทำหน้าที่จนถึงปีพ.ศ. 2527 แต่ไม่ได้แทรกแซงเรื่องการบริหาร ตั้งแต่ฉันเข้ารับตำแหน่งผู้บริหารของ สหพัฒน์ แทบจะไม่มีความเกี่ยวโยงในเรื่องบุคคลหรือความร่วมมือระหว่างธุรกิจทั้งสองกลุ่มเลย

เขาก็ส่วนเขา ฉันก็ส่วนฉัน เนื่องจากเป็นญาติกัน ฉันจึงมีโอกาสได้เจอเป็นการส่วนตัวปีละหลายครั้ง แต่ก็จะพยายามไม่สนทนาในเรื่องเกี่ยวกับงานกันเลย

ประธานเครือสหพัฒน์
หมายเหตุ : บทสัมภาษณ์คุณบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา
ในคอลัมน์ Watashi no Rirekisho (My Personal History)
หนังสือพิมพ์ Nihon Keizai Shimbun (Nikkei Newspaper)
July 2021

Related

Lastest