INSIDE HISTORY เปิดประวัติคุณบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา #ตอนที่ 7 : มาถึงญี่ปุ่น

“งานจัดซื้อและผู้ประสานงาน มองหาสินค้าที่ขายดีในไทยและสั่งซื้อเข้ามา”

ในปี พ.ศ. 2497 ฤดูใบไม้ผลิ สายการบิน Pan American บินจากกรุงเทพฯ ใช้เวลา 6 ชั่วโมง ถึงฮ่องกง เนื่องจากมีบริษัทสาขาของสหพัฒนพิบูลอยู่แล้ว ฉันจึงได้ใช้เวลาอยู่ที่ฮ่องกง 1 สัปดาห์ และ คุณพ่อได้ซื้อชุดสูท รองเท้า และของที่จําเป็นให้ฉัน

จากฮ่องกงไปโตเกียวใช้เวลา 16 ชั่วโมง ระหว่างทางแวะเติมน้ำมันทีโอกินาว่า ในตอนนั้นโอกินาว่า ยังเป็นพื้นที่ของสหรัฐอเมริกา เมื่อเครื่องลงจอดต้องลดหน้าต่างผู้โดยสารลงและมองไม่เห็นด้านนอก แน่นอนว่าไม่สามารถลงจากเครื่องได้เช่นกัน เมื่อเติมน้ำมันเสร็จเครื่องก็บินออกทันที ฉันมาถึงโตเกียว ประมาณ 2 ทุ่ม ก่อนออกเดินทางได้ส่งโทรเลขมาไว้แล้ว จึงมีพนักงานจากบริษัทเคียวโกสาขาโตเกียว ประมาณ 10 คนมารอรับ

ฉันดื่มด่ำทิวทัศน์ของโตเกียวที่มองเห็นจากภายในรถ เมื่อเทียบกับกรุงเทพฯ ฮ่องกงก็เป็นเมืองใหญ่ ที่น่าประทับใจแล้ว แต่โตเกียวยิ่งน่าประทับใจมากขึ้นไปอีก เมืองในตอนกลางคืนยังมืด สงครามเกาหลี

เพิ่งจบลงไม่นาน จึงยังเห็นทหารสหรัฐอเมริกาอยู่บ้าง

จากโตเกียวมุ่งหน้าสู่โอซาก้า ตอนนั้นยังไม่มีชินคันเซ็น จึงต้องนั่งรถไฟสาย Tokaido ถ้ามองจาก หน้าต่างรถไฟสามารถชมดอกซากุระที่เพิ่งจะผลิบาน และภูเขาไฟฟูจิที่เคยเห็นแต่ในรูปได้

ทิวทัศน์ชนบทก็มีความแตกต่างจากที่ไทยมากเช่นกัน บ้านที่กระจายกันอยู่มีความเป็นระเบียบอย่างมาก

สิ่งทีทำให้ประทับใจเมื่อมาอยู่ญี่ปุ่นคือ ทุกคนขยันขันแข็ง ตรงต่อเวลา และมีความกระฉับกระเฉงในการ

ทำงาน ที่เมืองไทยไม่ได้กำหนดเวลาเข้าออกงาน และในยุคนั้นสหพัฒน์ไม่มีวันหยุดสุดสัปดาห์ ภายหลังที่ ฉันกลับประเทศไทย ฉันจึงได้เสนอกับพ่อให้หยุดวันอาทิตย์

เมื่อถึงโอซาก้า ฉันไปลงที่ชินไซบาชิซึ่งเป็นที่ตั้งบริษัทเคียวโกสํานักงานใหญ่ ดึกและไฟนีออน สว่างสดใสมากกว่าที่คิดไว้ เกือบ 10 ปีหลังจากพ่ายแพ้สงคราม ญี่ปุ่นกำลังก้าวเข้าสู่การเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งฉันคิดว่าจะสามารถเรียนรู้และนำมาพัฒนาที่ไทยได้

หน้าที่งานของฉันที่บริษัทเคียวโกคือ เป็นจัดซื้อและผู้ประสานงานกับเมืองไทย ปกติพ่อของฉัน จะติดต่อด้วยจดหมายภาษาจีน ถ้ารีบก็จะใช้โทรเลข โดยจะสั่งออเดอร์ อยากได้สินค้าแบบไหน หรือบอกว่า สินค้าก่อนหน้านี้ไม่ดีตรงไหน เมื่อทําความเข้าใจเนื้อหาแล้วฉันก็จะแจ้งพนักงานเคียวโกว่า อยากซื้อ สินค้านี้สัก 300 โหล หรือ สินค้านั่นราคาแพงไป เป็นต้น ให้เขาช่วยจัดการ

ตัวอย่างเช่น กระติกน้ำสูญญากาศ โดยปกติไว้ใช้ใส่น้ำร้อน แต่ประเทศไทยเป็นเมืองร้อนและตู้เย็น ยังไม่เป็นที่แพร่หลาย จะใช้กระดิกนี้ใส่น้ำแข็งเพื่อทำให้เย็น ปากกระดิกแบบแคบสามารถหาซื้อได้ที่ฮ่องกง แต่ถ้าอยากได้ปากกว้างแบบที่ใส่ป่าแข็งได้ สามารถหาได้จากญี่ปุ่น

ฉันได้ขอให้คู่ค้าทาสินค้าเลียนแบบของแบรนด์ตะวันตกขึ้นมา ปากกาหมึกซึม “Parker” หรือ “Sheaffer” ในไทยเป็นที่นิยมมากแต่มีราคาแพง ที่ญี่ปุ่นสามารถผลิตให้ได้ในราคาถูกจึงเอาไปขายภายใต้ ชื่อแบรนด์ตัวเอง นอกจากนี้ยังมีสินค้าพวก Cufflinks และหัวเข็มขัดด้วย ถ้าเป็นยุคนี้คงเป็นปัญหาใหญ่ แต่สมัยก่อนนั้นเป็นยุคที่มีสินค้าไม่เพียงพอจึงทําให้ขายดี

นอกจากนี้ เตารีดด้วยถ่าน หรือจักรยานติดมอเตอร์ที่ฮอนด้าผลิตขึ้นหลังสงคราม หรือฮาร์โมนิก้า ของยามาฮ่า ก็มีการซื้อส่งเข้าไปในไทย

บริษัทญี่ปุ่นส่วนใหญ่ยังคงเป็นโรงงานตามเมืองเล็กๆ ธนาคารไม่ปล่อยสินเชื่อให้เยอะ หลายๆ แห่ง

ก็ต้องปิดกิจการไป ฉันอยากทําส่งออกสินค้า จึงไปที่โรงงานต่างๆ และแสดงเอกสาร L/C แต่ละโรงงาน

ให้การต้อนรับพาไปชมโรงงานเป็นอย่างดี ถ้ามีจุดที่ต้องการให้ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ โรงงานก็ตอบรับทันที

ฉันได้เห็นว่าบริษัทญี่ปุ่นสามารถเติบโตได้อย่างไรในช่วงเวลาที่ยากลำบาก จากเงินทุนเล็กๆ จนเติบโต ไปเป็นธุรกิจใหญ่ได้ ทุกสิ่งที่ผ่านเข้ามายังคงอยู่ในหัวของฉัน

ประธานเครือสหพัฒน์
หมายเหตุ : บทสัมภาษณ์คุณบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา
ในคอลัมน์ Watashi no Rirekisho (My Personal History)
หนังสือพิมพ์ Nihon Keizai Shimbun (Nikkei Newspaper)
July 2021

Related

Lastest