INSIDE HISTORY เปิดประวัติคุณบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา #ตอนที่ 6 : เข้าสู่ธุรกิจครอบครัว

พ่อพูดสั้นๆ “ให้ไปโอซาก้า” ไปเริ่มงานอย่างกระทันหันด้วยความรู้สึกของการผจญภัยและกังวลใจ

ในช่วงสงครามแปซิฟิกมีบุคคลชื่อ โอคาดะ คะมง อยู่บริษัทมิตซุยสาขากรุงเทพฯ ที่พ่อของฉัน ติดต่อธุรกิจ ซึ่งเมื่อญี่ปุ่นยอมจำนนในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488 และสงครามสิ้นสุดลง กองกำลังพันธมิตร อังกฤษและกองกำลังพันธมิตรอื่นๆ ได้มาประจําการอยู่ในประเทศไทย ชาวญี่ปุ่นจํานวนมากไม่ว่าจะอยู่ใน สถานะใดจะถูกจับและจองจำใกล้กรุงเทพฯ โอคาดะก็ถูกควบคุมตัวเป็นเวลาเกือบปี

บางครั้งพ่อของฉันไปเยี่ยมเขา และเขาขอให้พ่อฉันเก็บรถของเขาไม่ให้ถูกยึด หลังจากถูกปล่อยตัว โอคาดะ ได้ขายรถและกลับไปที่ญี่ปุ่น

ไม่กี่ปีต่อมา โอคาดะซึ่งรับผิดชอบการขายที่บริษัทญี่ปุ่นแห่งหนึ่งเดินทางมากรุงเทพฯ และได้เจอ กับพ่อฉันอีกครั้งหนึ่ง พ่อของฉันก็กำลังคิดเกี่ยวกับการขยายธุรกิจด้วยการนำเข้าสินค้าเข้ามาจากญี่ปุ่น จึงถามว่าเขาสามารถซื้อสินค้าในญี่ปุ่นและส่งมายังประเทศไทยได้ไหม

ในปี พ.ศ. 2495 ปีเดียวกับที่เฮียบเซ่งเชียงถูกเปลี่ยนชื่อเป็นสหพัฒนพิบูล พ่อของฉันออกเงิน 4 ล้านเยนเพื่อเป็นทุนจดทะเบียน และจัดตั้งบริษัทเทรดดิ้ง “เคียวโก” ที่ญี่ปุ่น โดยตั้งสำนักงานใหญ่ที่ โอซาก้า ซึ่งเป็นศูนย์รวมสินค้าเบ็ดเตล็ด และจัดตั้งสำนักงานสาขาโตเกียวที่นิฮองบาชิเพื่อซื้อสินค้า ของเล่น กรรมการผู้จัดการคือคุณโอคาดะ พ่อของฉันส่งดำหริ จากประเทศไทยไปเป็นประธานกรรมการ

เมื่อฉันจบการศึกษามัธยมต้นจากโรงเรียนวัดสุทัศน์ในกรุงเทพฯ ในปีพ.ศ. 2496 จากการที่ฉัน ช่วยงานที่ร้านหลังเลิกเรียนมาโดยตลอด ฉันจึงได้เข้าไปทํางานในสหพัฒน์โดยปริยาย

งานแรกที่ทำเป็นงานเกี่ยวกับคลังสินค้า ซึ่งเป็นสถานที่ที่ดีที่สุดในการเรียนรู้วิธีแยกแยะสินค้า ราคา แม้แต่งานส่งของฉันก็ทำ เวลาจัดส่งก็ไปกับรุ่นพี่ 2 คน พวกเราขี่จักรยานไปรอบๆ ถนนสำเพ็งในย่านค้าส่ง และจำตำแหน่งที่ตั้งร้านและลูกค้า นอกจากนี้ฉันยังเชี่ยวชาญในการใช้เครื่องพิมพ์ดีดและเครื่องคิดเลข แบบมือหมุน

ประมาณหกเดือนต่อมา เป็นช่วงที่ฉันพอจะเป็นงานแล้ว พ่อเรียกฉันมาพบและบอกว่า “ไปโอซาก้า” โดยไม่มีคำสั่งว่าจะให้ไปทำอะไรที่โอซาก้า

ดำหริซึ่งไปอยู่ญี่ปุ่น 1 ปีกลับมากรุงเทพ เพราะพ่อตาของพ่อฉันนั่นเองที่ขอร้องว่า อยากให้กลับมา

เร็วๆ เพราะเป็นห่วงลูกชายที่ต้องไปอยู่ต่างแดน พ่อส่งพนักงานคนอื่นไปแทนแล้ว แต่พ่อคงอยากให้ 

คนในครอบครัวทำหน้าที่นี้ แม้แม่ฉันจะดูกังวลแต่แม่ก็ไม่ได้คัดค้าน เพราะเคยส่งน้องชายตัวเองไปแล้ว

ใจจริงแล้วฉันรู้สึกดีใจ ในช่วงสงครามมีชาวญี่ปุ่นจํานวนมากเข้ามาอยู่ประเทศไทย แต่ไม่มีคนไทย รู้ว่าประเทศญี่ปุ่นเป็นอย่างไร มันเป็นความรู้สึกที่ผสมกันของการผจญภัยในโลกใบใหม่ กับความมุ่งมั่นที่จะนำความรู้และข้อมูลที่เป็นประโยชนกลับมา

คุณดำหริสอนฉันว่าต้องทำอะไรในญี่ปุ่น คุณโอคาดะเป็นผู้รับผิดชอบการบริหารของเคียวโก งานของฉัน

คือการซื้อสินค้า นั่นคือ buyer (จัดซื้อ) ในฐานะผู้ประสานงานกับประเทศไทย ฉันเป็นผู้แจ้งเคียวโกว่า ฝั่งไทยต้องการผลิตภัณฑ์อะไร และในทางกลับกัน ฉันให้ข้อมูลสินค้าที่น่าสนใจให้แก่ฝั่งไทย

หลังสงครามไม่นาน ญี่ปุ่นยังไม่ค่อยมีเงิน โรงงานต่างๆ ในญี่ปุ่น ต้อนรับฉันเป็นอย่างดีเนื่องจาก ฉันให้ค่าสินค้าโดยการออก L / C ธนาคารไทย พอส่งของขึ้นเรือโรงงานก็จะสามารถรับเงินได้ในทันที

ในปี พ.ศ. 2497 ช่วงที่ร้อนที่สุดของปีในประเทศไทย ประมาณต้นฤดูใบไม้ผลิของญี่ปุ่น ครอบครัว ของฉันมาส่งฉันที่สนามบินดอนเมือง ฉันและพ่อได้ขึ้นเครื่องบิน Pan America ไปแวะฮ่องกง เป็นเครื่องบิน ใบพัดที่นั่งประมาณ 50 ที่นั่ง มีคนเกือบเต็มลำ หัวใจของฉันเต็มเปี่ยมไปด้วยความคาดหวังและความกังวล กับโลกที่ฉันไม่รู้จัก

ประธานเครือสหพัฒน์
หมายเหตุ : บทสัมภาษณ์คุณบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา
ในคอลัมน์ Watashi no Rirekisho (My Personal History)
หนังสือพิมพ์ Nihon Keizai Shimbun (Nikkei Newspaper)
July 2021

Related

Lastest