“บะหมี่กึ่งสําเร็จรูปที่กลายเป็นอาหารของทุกคน ชูจุดขาย “รสชาติฝีมือแม่” อร่อย สะดวก รวดเร็ว”
ช่วงปี พ.ศ. 2500 – 2510 วิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนเป็นสังคมเมืองอย่างรวดเร็วพร้อมๆ กับการเติบโต ทางเศรษฐกิจ รสนิยมทางด้านอาหารก็เปลี่ยนไปด้วย ฉันจึงถือเป็นโอกาสที่จะเริ่มธุรกิจใหม่ของเราด้วย เช่นกัน ส่วนใหญ่เป็นการร่วมกับบริษัทญี่ปุ่นอย่างเช่น ขนมปัง ขนมกินเล่น เครื่องปรุง เครื่องดื่ม เป็นต้น
แต่จุดเริ่มต้นให้ก้าวเข้าสู่ธุรกิจอาหาร คือการร่วมมือกับบริษัทไต้หวันที่ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
คนที่นำเรื่องนี้มาคือ เพื่อนของคุณพ่อเทียม เป็นผู้จัดการธนาคารกรุงเทพซึ่งได้ไปดูงานที่ไต้หวัน บ่อยครั้ง และได้บอกคุณพ่อเทียมว่า “ที่ไต้หวัน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และบริษัท ที่ผลิตกำลังอยากจะขยายฐานการตลาดมาในประเทศไทย”
ปี พ.ศ. 2515 บริษัท Uni-President Enterprises Corporation ของไต้หวัน กับ บริษัทสหพัฒนพิบูล ได้จัดตั้งบริษัทร่วมทุนผลิดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป “ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์” (TF) ตั้งโรงงานที่ฝั่งธนบุรี Uni-President ทำหน้าที่บริหาร ส่วนสหพัฒน์ทำหน้าที่ขาย
ช่วงแรกการขายค่อนข้างลำบาก ไม่เพียงต้องแข่งกับบริษัทอายิโนะโมะโต๊ะที่ขายบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป “ยำยำ” และบริษัทอื่นๆ อีก 4 บริษัท ที่วางขายมาก่อน และขณะนั้นราคาของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปคือซองละ 4 บาท ในขณะที่ก๋วยเตี๋ยวตามแผงลอยสามารถกินได้ในราคาชามละ 1 บาท 50 สตางค์
จากความเคลื่อนไหวของนานาชาติ ในปีเดียวกันนั้นเอง ประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา ริชาร์ด นิกสัน ได้ไปเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งการไปเยือนครั้งนี้เป็นการฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่าง จีน-อเมริกาอย่างเป็นทางการ ดังนั้นภูมิภาคเอเชียจึงต้องพิจารณาความสัมพันธ์ทางการฑูตกับจีนใหม่ อีกครั้ง ไทยเองก็เห็นโอกาสที่จะสร้างความสัมพันธ์กับจีน แต่นั่นหมายถึง การตัดความสัมพันธ์กับไต้หวัน บริษัท Uni-President มีความกังวลจึงถอนการลงทุนจาก TF และเปลี่ยนเป็นสนับสนุนทางด้านเทคโนโลยี แทน หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2518 ไทยก็สานสัมพันธ์ทางการฑูตกับจีน
ดังนั้น การบริหารจึงตกเป็นหน้าที่ของสหพัฒน์โดยปริยาย คนที่คุณพ่อเลือกมาบริหารคือคุณพิพัฒ พะเนียงเวทย์ ที่ร่วมฟันฝ่ากันมาตั้งแต่ช่วงแรกเริ่ม คุณพิพัฒได้ร่วมลงทุนด้วย และในปี พ.ศ. 2516 เขาได้ เข้ารับตำแหน่งประธานบริษัท ในตอนนั้นเขามีอายุ 34 ปี ซึ่งน้อยกว่าฉัน 2 ปี แม้ในขณะนี้เขาจะอายุ 82 ปี แล้ว ก็ยังอยู่ในตำแหน่งรองประธานกรรมการ
แผนการทวงคืนพื้นที่การตลาดได้เริ่มขึ้น สิ่งแรกคือ ชื่อสินค้า เดิมใช้ชื่อเหมือนได้หวันคือ “เพรซิเด้นท์” ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “มาม่า” ซึ่งเป็นไอเดียของ บุญชัย น้องชายที่เพิ่งกลับจากการเรียนด้าน การตลาดที่อเมริกา ซึ่งแฝงความหมายว่า ยามเช้าอันเร่งรีบ เพียงเติมน้ำร้อนและรอ 3 นาที ก็ได้กินบะหมี่ สําเร็จรูปรสชาติเหมือนฝีมือแม่
อีกทั้งพัฒนาสินค้าจากเดิมที่เป็นรสหมูธรรมดาๆ ก็เปลี่ยนเป็นหมูสับที่มีรสเผ็ด หรือรสต้มยำกุ้ง ที่เป็นรสชาติแบบไทย
คนไทยยังไม่คุ้นเคยกับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปนัก จึงได้ทำแคมเปญใหญ่ให้ทดลองชิม โดยใช้รถบรรทุก 6 คันสัญจรไปทั่วประเทศเป็นเวลา 1 ปี โดยกลุ่มเป้าหมายของสินค้าใหม่นี้ คือ คนวัยหนุ่ม-สาว ช่วงเช้า จะนำรถไปจอดบริเวณหน้าโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย เพื่อให้เหล่านักเรียนนักศึกษาได้ทดลองชิม โดยชู จุดขายว่า “อร่อย สะดวก รวดเร็ว”
ปัญหาเรื่องราคาที่รู้สึกแพงนั้น ไม่นานก็คลี่คลายได้ด้วยเวลาและการแข่งขัน รวมถึงค่าครองชีพ ของไทยพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว ก๋วยเตี๋ยวที่เคยชามละ 1 บาท 50 สตางค์นั้น เพียงช่วงเวลาสั้นๆ ก็ขึ้นราคา ไปเป็น 5 บาท ในขณะที่ มาม่า ซึ่งต้องต่อสู้กับบริษัทอื่นเช่น ยำยำ จึงตรึงราคาไว้ที่ 4 บาท ไม่นานก็ขายดี เป็นเทน้ำเทท่า เพียง 10 ปีให้หลังก็สามารถครองส่วนแบ่งตลาดได้ถึงครึ่งหนึ่ง มารู้ตัวอีกครั้ง มาม่า ก็เป็น ชื่อที่คนทั่วไปใช้เรียก บะหมี่สำเร็จรูป
ดังเช่นที่ผู้อ่านทุกคนทราบกันดีว่าในปี พ.ศ. 2501 ผู้คิดค้นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปคือ คุณอันโด โมโมฟูกุ ผู้ก่อตั้งบริษัทนิชชิน ซึ่งหลังจากนั้นไม่นาน ในปี พ.ศ. 2537 ก็จับมือกับเครือสหพัฒน์ เปิดบริษัทร่วมทุน และเริ่มผลิต “คัพนู้ดเดิ้ล” ในไทย ต่อมาหลังวิกฤตการณ์ทางเงินต้มยำกุ้ง บริษัทสหพัฒนพิบูลก็ได้ร่วม ลงทุนในบริษัทนิชชินในสัดส่วน 5%
แม้จะมีหลายสถานการณ์ที่แข่งขันกับ TF แต่ก็ส่งผลทําให้ส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้น ปัจจุบัน ความสัมพันธ์ในด้านการแข่งขันและการร่วมมือยังคงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องถึงปัจจุบัน
ประธานเครือสหพัฒน์
หมายเหตุ : บทสัมภาษณ์คุณบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา
ในคอลัมน์ Watashi no Rirekisho (My Personal History)
หนังสือพิมพ์ Nihon Keizai Shimbun (Nikkei Newspaper)
July 2021