“บุกตลาดผงซักฟอกแบบผง ร่วมทุนกับบริษัทญี่ปุ่น เอาชนะอุปสรรค”
โรงงานบรรจุแชมพูแบบผง ดำเนินกิจการได้ดีและได้ขยายไปถึงการผลิตสบู่ ทั้งสองอย่างเป็น ผลิตภัณฑ์จากบริษัท Lion Fat and Oil ซึ่งคุณโคบายาชิเป็นผู้แนะน่า ดังนั้นจึงเริ่มมีการพูดถึงการบรรจุ ยาสีฟันของบริษัท Lion Toothpaste
อย่างไรก็ตาม ตอนนั้นเราไม่สามารถหาหลอดเพื่อบรรจุยาสีฟันได้ เนื่องจาก Colgate เป็นเจ้าตลาดอยู่ ทำให้ผู้ผลิตหลอดบรรจุยาสีฟันไม่กล้าขายให้กับเรา ดังนั้นเมื่อไม่มีทางเลือกอื่นจึงต้องนำเข้าเครื่องจักร จากญี่ปุ่นและเริ่มผลิตหลอดบรรจุยาสีฟันด้วยตนเอง ทำให้บริษัทค่อยๆ ขยายธุรกิจเพิ่มมากขึ้น
สินค้าต่อมาที่คุณพ่อหมายตาคือ ผงซักฟอก บริษัท Lion Fat and Oil เปิดตัวการขายผงซักฟอก “ท็อป” ที่ญี่ปุ่น เมื่อปี พ.ศ. 2499 แต่ด้วยกำลังการผลิตที่มากเกินจึงได้เสนอให้เรานำเข้ามาขายในไทยด้วย ดังนั้น ในปีพ.ศ. 2503 จึงได้ทดลองนำเข้ามาจัดจําหน่ายแต่ทว่าก็เกิด “อุบัติเหตุ” ขึ้น
รูปตึกนี้ คือโรงงานไลอ้อน อยู่ที่วัดดอกไม้
ผงซักฟอกที่สั่งเข้ามา เมื่อปล่อยทิ้งไว้ผงจะจับตัวกันเป็นก้อนแข็ง เนื่องจากประเทศไทยจะมีฝนตก คลอดเกือบทั้งปีจึงมีอากาศชื้น ซึ่งแตกต่างจากที่ญี่ปุ่น เมื่อเกิดเหตุนี้ ด้วยความตกใจจึงแจ้งให้ Lion Fat and Oil รับทราบ และท่านประธาน คุณโทมิจิโร่ โคบายาชิ ได้ถึงกับบินมาประเทศไทยด้วยตนเอง คุณโทมิจิโร่ นั้นเป็นลุงของคุณอัตสึชิ เขากล่าวขอโทษต่อคุณพ่อของฉันและจะชดใช้ความเสียหายทั้งหมดให้ คุณพ่อ รู้สึกประทับใจมาก ยิ่งทำให้มีความกระตือรือร้นในการร่วมมือทำงานกับ Lion ต่อไป
ฉันรู้ว่าตลาดผงซักฟอกมีขนาดใหญ่ แต่เรายังไม่สามารถเข้าตลาดได้อย่างเต็มตัวทันที เพราะ ตอนนั้น เจ้าตลาดคือ Colgate ของอเมริกา และ Unilever ของอังกฤษ และภายใต้นโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อทดแทนการนำเข้าสินค้า ในปีพ.ศ. 2505 รัฐบาลไทยได้ให้สิทธิพิเศษในการผลิตเป็นเวลา 5 ปี กับ บริษัทต่างชาติทั้งสองบริษัท และจํากัดผู้ลงทุนรายใหม่ที่จะเข้ามา
“แฟ๊บ” ของ Colgate ณ ตอนนั้นเป็นผงซักฟอกที่ทุกคนเรียกจนกลายเป็นคำคิดปาก และได้ จําหน่ายไปแล้วกว่า 50 ประเทศทั่วโลก เขาคุ้นเคยกับวิธีบุกตลาดประเทศกำลังพัฒนา ส่วน “บรีส” ของ Unilever มาทีหลัง แต่ได้ใช้แคมเปญ ซื้อ 1 แถม 1 ทําให้ดึงดูดผู้บริโภคได้ ซึ่งเป็นวิธีการส่งเสริมการขาย ที่พบได้ทั่วไปในปัจจุบัน และในร้านขายปลีกของไทย
ในปีพ.ศ. 2509 มีการร่วมทุนก่อตั้ง บริษัท ยาสีฟันไทยไลอ้อน หลังจากนั้นเมื่อกฎข้อจำกัดในการ เข้าร่วมตลาดผงซักฟอกได้ถูกยกเลิกในปีพ.ศ. 2510 จึงได้ก่อตั้ง “บริษัท ไลอ้อนแฟทแอนด์ออย (ประเทศไทย) จํากัด” โดยร่วมทุนคนละครึ่งกับญี่ปุ่น แต่บริษัทไม่ได้เริ่มผลิตผงซักฟอกในทันที เห็นได้ชัดว่า หากเราจะท้าทายนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ตรงๆ เราจะต้องยอมเจ็บตัว
ช่วงแรก เราเริ่มจากการผลิตแชมพูผงก่อน โดยขอให้ Lion Fat and Oil ออกแบบเครื่องจักรให้ สามารถใช้เครื่องจักรเดียวกันนี้ในการผลิตผงซักฟอกได้ด้วย และหากมีการรุกตลาดผงซักฟอกจาก Colgate หรือ Unilever เราจะได้เน้นไปที่การผลิตและจําหน่ายแชมพูแบบผง อย่างไรก็ตามหากมีโอกาส เราก็จะ ค่อยๆ บุกเข้าสู่ตลาดผงซักฟอก
ทว่า แผนนั้นก็ไม่ได้เป็นไปอย่างราบรื่น เครื่องจักรที่สามารถผลิตแชมพูแบบผงและผงซักฟอกได้นั้น มีปัญหาตามมาเรื่อยๆ มีเสียงบ่นหนาหูว่าเวลาเปิดใช้ผลิตภัณฑ์ ทำให้ผู้ใช้จามเพราะเม็ดผงซักฟอก ละเอียดเกินไป รวมถึงคุณภาพของบรรจุภัณฑ์กระดาษที่ไม่ดี ยับยู่ยี่ได้ง่าย อีกทั้งคนไทยที่ยังนิยมการซักผ้า ด้วยมือบอกว่าผงซักฟอกของเราฟองน้อยไป
เรากับ Lion Fat and Oil ได้ร่วมมือกันอย่างดีในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น เนื่องจาก ไลอ้อนไม่ได้หวงเทคโนโลยีใดๆ เลย ในที่สุดพวกเราก็สามารถแข่งขันกับยักษ์ใหญ่ตะวันตกได้ ทั้งคุณพ่อ และฉันต่างก็มีจุดยืนที่ไม่คิดจะเอาเปรียบฝั่งผู้ร่วมทุน ทําให้ข่าวความสำเร็จจากการร่วมทุนกับ Lion ได้แผ่ ขยายออกไป และบริษัทญี่ปุ่นหลายๆ แห่งที่คิดจะมาบุกตลาดในไทย ต่างก็มาขอความร่วมมือจากสหพัฒน์
หลังจากการควบรวมบริษัท Lion Toothpaste และ Lion Fat and Oil ในญี่ปุ่นในปี พ.ศ.2523 ในประเทศไทยก็ได้ควบรวมสองบริษัทเข้าด้วยกันเป็น บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จํากัด และฉันก็ได้รับ ตำแหน่งเป็นประธานคนแรก
ประธานเครือสหพัฒน์
หมายเหตุ : บทสัมภาษณ์คุณบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา
ในคอลัมน์ Watashi no Rirekisho (My Personal History)
หนังสือพิมพ์ Nihon Keizai Shimbun (Nikkei Newspaper)
July 2021