เมื่อAI ครองเมือง Skills อะไรที่จะช่วยให้เราเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงาน

โลกยุคปัจจุบันที่ปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ได้เข้ามามีบทบาทในการทำงานในหลายองค์กร ส่งผลให้เกิดความกังวลว่า AI จะมาแทนที่แรงงานมนุษย์แม้ว่าจะมีงานวิจัยของหลายหน่วยงานยืนยันว่า AI เป็นเครื่องมือที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพการทำงาน ยังไม่สามารถแทนที่แรงงานมนุษย์ได้อย่างสมบูรณ์ เพราะยังมีหลายทักษะที่ AI ไม่สามารถแทนที่ได้ โดยเฉพาะ Soft Skills ที่จะช่วยให้มนุษย์ยังคงเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงาน

ปัจจุบันองค์กรชั้นนำไม่ได้มองหาแต่คนเก่งคนมีความสามารถทางวิชาชีพเพียงอย่างเดียวแล้ว แต่มองหาพนักงานที่มี Soft Skills ในหลายเรื่อง เช่น ทักษะด้านการสื่อสารหรือภาษา ทักษะการทำงานร่วมกันเป็นทีม ทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์ เป็นต้น รวมถึงต้องการบุคลากรที่มีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง หรือ Lifelong learning พัฒนาตนเองตลอดเวลา เพื่อที่จะได้ร่วมกันนำพาองค์กรก้าวสู่ความสำเร็จในยุคที่โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

จากการจัดอันดับ Top 50 องค์กรในฝันของคนรุ่นใหม่ที่อยากร่วมงานด้วยมากที่สุดในปี 2025 โดย WorkVenture ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำด้านกลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรบุคคล พบว่าองค์กรชั้นนำหลายแห่ง อาทิ  Google องค์กรในฝันอันดับหนึ่ง, บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCG องค์กรในฝันอันดับ 2, บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) หรือไทยเบฟ ผู้นำด้านธุรกิจเครื่องดื่มและอาหารของไทยและอาเซียน และอีกหลายๆ องค์กร ต้องการพนักงานที่นอกจากความเก่ง มี Hard Skills ในสายงานที่รับผิดชอบแล้วยังต้องการพนักงานที่มี Soft Skills ในเรื่องของการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ความสามารถในการทำงานเป็นทีม ความสามารถในการปรับตัว ความคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหา ซึ่งทักษะเหล่านี้จะช่วยสนับสนุนให้งานออกมามีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังทำให้การทำงานร่วมกันในองค์กรเป็นไปด้วยความราบรื่น

มูลนิธิเอสซีจี เป็นหนึ่งในองค์กรสาธารณกุศลที่มุ่งมั่นพัฒนาศักยภาพของ ‘คน’ ด้วยเชื่อว่าคนคือทรัพยากร
ที่สำคัญที่สุด โดยเฉพาะการสนับสนุนเยาวชนไทยให้มีแนวคิด Learn to Earn เรียนรู้ เพื่ออยู่รอด เน้นการพัฒนา ทักษะและประสบการณ์ในสายอาชีพที่เป็นที่ต้องการของประเทศ เช่น ผู้ช่วยพยาบาล ผู้ช่วยทันตแพทย์ เป็นต้น กับการพร้อมกับการพัฒนาทักษะด้าน Soft Skills เพื่อให้อยู่รอดได้อย่างยั่งยืน โดย มูลนิธิฯ ได้ร่วมกับบริษัท ฟาร์อีสท์ เฟมไลน์ ดีดีบี จำกัด (มหาชน) และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (Thailand Development Research Institute: TDRI) เพื่อค้นหาทักษะที่สำคัญและจำเป็นที่ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน  ผ่านการจัดทำสำรวจกลุ่ม New Gen ถึงทักษะที่มองว่าเป็นทักษะสำคัญและจำเป็น และยังเป็นทักษะที่องค์กรระดับแถวหน้า ต่างก็ต้องการจากพนักงาน พบว่าทักษะชีวิต หรือ Soft Skills ที่สำคัญและจำเป็นจะมี Skill Set สำคัญที่เรียกว่า 3C ได้แก่

  • ทักษะด้านการสื่อสารและภาษา Communication & Language Skills  เป็นทักษะที่พบได้ในการรับสมัครงานทุกสาขา เพราะทักษะนี้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาตนเองและสร้างความสำเร็จในชีวิต การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ สามารถถ่ายทอดความคิดที่ชัดเจน เข้าใจง่าย ช่วยให้การทำงานร่วมกันมีความราบรื่น ทักษะในกลุ่มนี้ ได้ แก่ ทักษะการสื่อสารที่สั้นและตรงประเด็น (Conciseness), ทักษะการรับฟังอย่างตั้งใจ (active listening), ทักษะการแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา (assertiveness), ทักษะการสื่อสารด้วยวาจา (verbal communication), ทักษะการสื่อสารด้วยภาษากาย (non-verbal communication), ทักษะการเล่าเรื่อง (story telling) และทักษะด้านการปรับตัว (adaptability)
  • ทักษะด้านการทำงานร่วมกัน Collaboration Skills ทักษะนี้จำเป็นต่อการสร้างความสำเร็จขององค์กรและบุคคล เพราะช่วยทำให้เกิดความร่วมมือที่จะผลักดันให้ประสบความสำเร็จ โดยระหว่างทางยังทำให้เกิดการแบ่งปันความรู้และเกิดการพัฒนาทั้งระดับบุคคลและองค์กรเป็นทักษะที่ช่วยได้มากกับการทำงานต่างเจนเนอเรชัน ทักษะในกลุ่มนี้ ได้แก่ ทักษะด้านการรับฟังอย่างตั้งใจ (Active listening), ทักษะการให้และรับความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ (feedback), ทักษะด้านการสร้างความเท่าเทียม (inclusivity) ที่จะช่วยให้ได้รับโอกาสที่เท่าเทียมกันแม้ว่าจะมีพื้นฐานที่แตกต่างกัน เช่น ความเห็นอกเห็นใจ (empathy) ความสามารถเข้าใจวัฒนธรรมที่หลากหลาย (cultural competence) การตระหนักรู้หรือละอคติที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว (unconscious bias awareness), ทักษะด้านความสามารถในการใช้คำพูดที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสาร (verbal communication) และทักษะด้านความสามารถในการเขียนที่ชัดเจน (written communication)
  • ทักษะด้านการคิดอย่างสร้างสรรค์ Creative Thinking Skills ทักษะนี้จะช่วยให้คนและองค์กรสามารถปรับตัวเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ และเติบโตในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วได้ เพราะการคิดนอกกรอบ แก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ เป็นสิ่งที่ AI ยังไม่สามารถทำได้เท่ากับมนุษย์ คนที่มีทักษะด้านนี้จะมีโอกาสก้าวหน้าในอาชีพและสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกให้องค์กรได้ดี ทักษะในกลุ่มนี้ ได้แก่ ทักษะการแก้ไขปัญหา (Problem solving), ทักษะการเขียนอย่างสร้างสรรค์ (creative writing), ทักษะการเปิดใจยอมรับมุมมองที่แตกต่างจากตัวเอง (open-mindedness),  ทักษะการวิเคราะห์ (analysis) และทักษะการรับฟังอย่างตั้งใจ (active listening)

นอกจากทักษะในกลุ่ม 3C แล้ว ยังควรต้องมี Soft Skills สำหรับการทำงานร่วมกับ AI เพื่อจะช่วยส่งเสริมให้เราอยู่เหนือ AI ได้ โดยทักษะเหล่านี้ ได้แก่

  • ทักษะ Problem-Solving & Decision Making เป็นทักษะการแก้ปัญหาและการตัดสินใจด้วยการใช้ข้อมูลจาก AI ประกอบการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์
  • ทักษะ Creativity การคิดเชิงสร้างสรรค์ที่จะยังทำให้มนุษย์ยังเป็นผู้ควบคุม AI
  • ทักษะ Emotional Intelligence & Collaboration ความฉลาดทางอารมณ์และการทำงานร่วมกับคนอื่น ฯลฯ

Soft Skills เหล่านี้ มีบทบาทสำคัญในหลายสายอาชีพ แม้แต่ในวงการแพทย์ที่นอกจากต้องการ Hard

Skills ที่แม่นยำแล้ว ยังต้องพึ่งพาทักษะการสื่อสารและการทำงานเป็นทีมเพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น ตัวอย่างเช่น น้องน้ำผึ้ง ภัชราภรณ์ กาลเขว้า นักเรียนทุนมูลนิธิเอสซีจี หลักสูตรผู้ช่วยพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เล่าถึงประสบการณ์ตรงของการทำงานในสายอาชีพนี้ว่า ไม่เพียงต้องดูแลผู้ป่วย แต่ยังต้องสื่อสารและประสานงานกับทีมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์จากหลากหลายแผนก ซึ่ง Soft Skills อย่างการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การทำงานเป็นทีม และความสามารถในการปรับตัว จึงเป็นทักษะที่มีบทบาทสำคัญต่อความสำเร็จในการทำงานและการดูแลผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพ

แม้ว่าเทคโนโลยีจะก้าวหน้าไปมากเพียงใด แต่การจะอยู่รอดและประสบความสำเร็จในยุคที่ AI มีบทบาทสำคัญนั้น มนุษย์ยังคงต้องพัฒนา Soft Skills ควบคู่ไปกับการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (Lifelong Learning) เพราะสิ่งเหล่านี้คือกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้สามารถปรับตัว แข่งขัน และก้าวหน้าไปได้ในโลกการทำงานที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

ติดตามความคืบหน้าของกิจกรรมโครงการ Learn to Earn เรียนรู้เพื่ออยู่รอด และติดตามข้อมูลข่าวสารของมูลนิธิเอสซีจี ได้ที่ www.scgfoundation.org เฟซบุ๊กและ TikTok: LEARNtoEARN

#LearntoEarn #เรียนรู้เพื่ออยู่รอด #มูลนิธิเอสซีจี

Related

Lastest