INSIDE HISTORY เปิดประวัติคุณบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา # ตอนที่ 23 : วิกฤตการณ์การเงิน ในเอเชีย

“เปลี่ยนการลงทุนด้วยเงินกู้ พลิกวิกฤตสู่การ สู่บุกตลาดต่างประเทศ”

2 กรกฎาคม พ.ศ.2540 รัฐบาลไทยได้ประกาศยกเลิกการใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบการตรึง เงินบาทกับดอลลาร์ และเปลี่ยนเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวโดยกะทันหัน

เงินบาทอ่อนค่าลงในทันที จาก 1 ดอลลาร์เท่ากับ 25 บาท กลายเป็น 50 บาทในพริบตา ความน่าเชื่อถือในค่าเงินลดลงอย่างรวดเร็วและแผ่ขยายไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตการณ์ สกุลเงินในเอเชีย วิกฤตการณ์ครั้งนี้ จึงได้ชื่อตามอาหารประจำชาติของประเทศไทยซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ เหตุการณ์นี้ คือ “วิกฤตการณ์ต้มยำกุ้ง”

เศรษฐกิจไทยในยุค 2530 เฟื่องฟูและเติบโตเป็นอย่างมาก เงินกู้ระยะสั้นในระบบมากเกินไปทำให้ เงินเฟ้อจนกระทั่งระบบเศรษฐกิจของประเทศเสียหาย ธนาคารแห่งประเทศไทยพยายามอย่างมากที่จะซื้อ เงินบาท แต่ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศหมดลง และไม่สามารถรักษาอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ได้ นี่คงจะ เป็นคำอธิบายที่เห็นได้ในตำราเรียนกระมัง

รัฐบาลพยายามบอกว่าไม่เป็นไร ไม่เป็นไร แต่ในที่สุดก็ยังคงเกิดความวุ่นวายแพร่กระจายออก เป็นวงกว้าง ฉันคิดในใจว่า “มันก็แหงอยู่แล้วสิ” แล้วต่างก็รับผลกระทบไปอย่างถ้วนหน้า และเพื่อเป็น ส่งเสริมตลาด Offshore ที่เพิ่งจัดตั้งขึ้น รัฐบาลจึงได้สนับสนุนเงินทุนจากต่างประเทศ ธนาคารจึงนำเงิน จากต่างประเทศมาปล่อยกู้ให้บริษัทในประเทศ และบริษัทเชื้อสายจีนซึ่งชอบที่จะขยายธุรกิจด้วยเงินกู้ มากกว่าเงินทุน ต่างก็ทุ่มเทให้กับการลงทุนเชิงรุกในอสังหาริมทรัพย์และหุ้น ทุ่มเทให้กับการลงทุนเชิงรุกในอสังหาริมทรัพย์และหุ้น ฉันเห็นการแตกของฟองสบู่ ของญี่ปุ่นในช่วงต้นยุค 2530 มาแล้ว ฉันจึงไม่เชื่อว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจแบบนี้จะยั่งยืน

ค่าเงินบาทลดลงครึ่งหนึ่ง และหนี้สกุลดอลลาร์เพิ่มขึ้นสองเท่า ธนาคารและธุรกิจที่รอการชำระหนี้คืน ค่อย ๆ ล้มละลายไปทีละราย อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยติดลบ 2 ปีติดต่อกัน และเครือสหพัฒน์ ซึ่งมีสินค้าหลักเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคก็ได้รับผลกระทบอย่างหนัก

ด้วยคำแนะนำของเพื่อนชาวญี่ปุ่น ฉันจึงระมัดระวังในการขอกู้เงิน จึงได้รับผลกระทบไม่มากนัก แต่ บุณย์เอก พี่ชายคนโต และ บุญปกรณ์ พี่ชายคนรองไม่เป็นเช่นนั้น เขาเพิ่มการลงทุนด้วยเงินกู้และถูก บังคับให้จ่ายคืนหลังเกิดวิกฤตค่าเงิน

เมื่อฉันได้เป็นประธานของเครือสหพัฒน์ พี่ ๆ ของฉันเป็นประธานของบริษัทสหพัฒนพิบูลและ บริษัทสหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง (SPI) อยู่ แต่สักวันคงต้องเกษียณอายุ ฉันจึงตัดสินใจที่จะเข้าไปดูแลทั้ง สองบริษัทพร้อม ๆ กัน

แม้ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงที่ฉันต้องการ แต่การที่ฉันมีอำนาจในการจัดการบริษัทหลักสองแห่ง ทำให้ฉันสามารถแยกธุรกิจที่ทำกำไรและไม่ทำกำไร จากนั้นก็จัดระเบียบการดำเนินธุรกิจภายในบริษัท จากนโยบายการทําธุรกิจด้วยเงินกู้ ได้เปลี่ยนเป็นนโยบายการลงทุนด้วยเงินทุนของตัวเองให้ได้มากที่สุด นี่เป็นบทเรียนครั้งใหญ่ที่ได้เรียนรู้จากวิกฤตค่าเงินในครั้งนี้

สถานการณ์ค่าเงินบาทอ่อน เป็นอุปสรรคต่อการนำเข้า ในทางกลับกัน ก็เป็นโอกาสอันดีสำหรับการ ส่งออก เราได้ตัดสินใจจัดงานแสดงสินค้าอย่างรวดเร็วเพื่อมุ่งขยายช่องทางการขายใหม่ ๆ เราได้เชิญผู้ ซื้อมาจากต่างประเทศ โดยใช้โรงแรมใกล้ ๆ บริษัท เป็นสถานที่จัดงาน

งานนี้ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 ได้ย้ายสถานที่จัดงานไปที่ศูนย์แสดง สินค้านานาชาติ และจัดต่อเนื่องเป็นประจําปีละครั้ง ภายใต้ชื่องาน “สหกรุ๊ปแฟร์” ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นงาน แสดงสินค้าเพื่อการส่งออก ยังเป็นงานขายสินค้าสำหรับคู่ค้าและผู้บริโภคในประเทศ งานนี้เป็นงานประจำปี ที่ใหญ่ที่สุดซึ่งคนทั้งเครือเข้าร่วม จะจัดขึ้นประมาณวันที่ 29 มิถุนายน ของทุกปี ซึ่งเป็นวันครบรอบการเสีย ชีวิตของพ่อฉัน และเราได้จัดงานนี้ต่อเนื่องมาประจําจนเป็นประเพณีของเครือสหพัฒน์

งานสหกรุ๊ปแฟร์ในปีพ.ศ. 2561 เรามีแขกรับเชิญเป็น Idol Girl Group ชาวไทย คือ BNK48 ซึ่งเป็น แบบเดียวกับ AKB48 ที่เป็น Idol Girl Group ของญี่ปุ่น และในปี พ.ศ. 2562 ได้เชิญ “คุมะมง”Mascot ของจังหวัดคุมาโมโตะ มาเป็นแขกในงานด้วย

เนื่องจากการระบาดของไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ดังนั้น ในปีที่แล้วและปีนี้ จึงต้องจัดงานแบบ ออนไลน์แทน ถึงกระนั้น เราก็ได้นักแสดงนำสองคนจากซีรีย์ไทยยอดนิยม ” เพราะเราคู่กับ: 2gether The Series” ซึ่งโด่งดังมากทั้งในไทยและต่างประเทศโดยเฉพาะในญี่ปุ่น มาเป็นแขกรับเชิญ

ประธานเครือสหพัฒน์
หมายเหตุ : บทสัมภาษณ์คุณบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา
ในคอลัมน์ Watashi no Rirekisho (My Personal History)
หนังสือพิมพ์ Nihon Keizai Shimbun (Nikkei Newspaper)
July 2021

Related

Lastest