เมื่อสิ่งทอ เสื้อผ้า แฟชั่น เป็นมากกว่า “แฟชั่น” ร่วมกันเปิดมุมมองในงาน จีเอฟที 2024

เมื่อโลกเปลี่ยน พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน ทำให้รูปแบบการทำธุรกิจก็ต้องเปลี่ยนตาม เพื่อจะตอบโจทย์ความเปลี่ยนแปลงทั้งหมดที่เกิดขึ้น และตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงให้ความสำคัญในเรื่องของสิ่งแวดล้อมที่กลายเป็นค่านิยมสำคัญของคนรุ่นใหม่ อาร์เอ็กซ์ เทรดเด็กซ์ จับมือตัวแทนผู้ประกอบการสิ่งทอและเสื้อผ้า ร่วมเสวนาพูดคุยถึงเทรนด์การทำธุรกิจสิ่งทอและเสื้อผ้าในปัจจุบัน ที่ต้องปรับคือปรับอะไร ที่ต้องเปลี่ยนคือเปลี่ยนอะไร หาคำตอบกันได้ในงาน จีเอฟที 2024

นายถิรศักดิ์ เศรษฐปาณี Regional Product Manager บริษัท กิจมีชัยเทรดดิ้ง จำกัด ตัวแทนนำเข้าเครื่องจักรในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเสื้อผ้า กล่าวถึงนวัตกรรมเครื่องนุ่งห่มที่มากกว่าคำว่า “แฟชั่น” ด้วยเทคโนโลยี ความยั่งยืน และความคุ้มค่า ว่า จากการที่กิจมีชัยอยู่ในตลาดมานาน กล่าวได้ว่าตลาดต่างประเทศมีความแตกต่างจากตลาดในประเทศอย่างเห็นได้ชัดเจน ตลาดต่างประเทศ จะมีการวางแผนการผลิตที่มีขั้นตอนของการหาข้อมูล การวิจัย หรือการทดสอบกับผู้บริโภค ก่อนจะมีการผลิตสินค้า เพราะเสื้อผ้าไม่ใช่แค่ใส่แล้วดูสวย แต่ต้องบ่งบอกความเป็นตัวตนของผู้สวมใส่ วัสดุที่นำมาใช้ก็มีพัฒนาการมากขึ้น มีการใช้วัสดุแปลก ๆ หรือวัสดุรีไซเคิล หรือช่วยด้านการออกแบบการเย็บ เช่น การซ่อนตะเข็บเพื่อไม่ให้เสียดสีกับผิวขณะสวมใส่ ฯลฯ ทำให้บริษัทต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีให้ก้าวหน้าขึ้นเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่มีความต้องการแตกต่างกันได้ อย่างนวัตกรรมใหม่ตอนนี้คือการติดสัญญาณ RFID บนเส้นใยผ้า ที่สามารถส่งสัญญาณเพื่อประโยชน์ในเรื่องต่าง ๆ เช่น การนับจำนวน หรือการคิดราคาสินค้า ฯลฯ หรือเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถนำวัสดุมาผลิตโดยเหลือวัสดุทิ้งให้น้อยที่สุด เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งตรงกับแนวคิดเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ซึ่งเป็นเทรนด์ในอนาคตที่ทุกคนกำลังให้ความสนใจ และกิจมีชัยก็นำเรื่องความใส่ใจในสิ่งแวดล้อมมาใช้พิจารณาในการเลือกคู่ค้าด้วย

นายเกรียงไกร วังวิจิตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสเคที. เอ็มบรอยเดอรี่ จำกัด ผู้จำหน่ายเครื่องจักรปักคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สำหรับธุรกิจสิ่งทอและเสื้อผ้า กล่าวถึงพัฒนาการของเทคโนโลยีสำหรับสิ่งทอและ


เครื่องนุ่งห่มว่า เทคโนโลยีใหม่ ๆ ทำให้การผลิตเสื้อผ้าในปัจจุบันทำได้ง่ายขึ้น ประกอบกับพฤติกรรมผู้บริโภคปัจจุบันที่เปลี่ยนไป เน้นความเป็นส่วนบุคคลมากขึ้น ทำให้การผลิตเสื้อผ้าในปัจจุบัน มีตัวช่วยทั้งโปรแกรมช่วยวิเคราะห์การออกแบบ โปรแกรมช่วยการวางผ้าให้ไม่เหลือผ้าทิ้ง หรือหุ่นยนต์ช่วยทำงาน ที่ทำให้อุตสาหกรรมเปลี่ยนแปลงไปใช้แรงงานคนน้อยลงแต่ได้ผลผลิตมากขึ้น หรือการมีเครื่องจักรที่สามารถผลิตงานจำนวนน้อยได้ ไม่ต้องสต๊อกของ ที่สามารถตอบโจทย์รูปแบบการตลาดในปัจจุบันที่ไม่เน้นการผลิตสินค้าจำนวนมาก ฯลฯ

จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไปหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด ทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย แม้ว่าผู้ประกอบการที่ใช้ระบบอัตโนมัติ จะมีโรงงานที่รับงานต่างประเทศมาก แต่ผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ยังเป็นกลุ่มในประเทศ เราซึ่งเป็นผู้ผลิตจึงต้องตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด แม้ว่าจำนวนการผลิตต่อหน่วยจะไม่มาก แต่จำนวน SMEs ที่มีมาก ทำให้กลุ่ม SMEs ยังเป็นกลุ่มหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอยู่

นางพรรณระพี โกสิยพงษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ออซั่มโด จำกัด หนึ่งในผู้รับจ้างผลิต หรือ OEM ที่มาร่วมแสดงงานเป็นครั้งแรก หลังจากที่เป็นผู้มาชมงานก่อนหน้านี้มาแล้วหลายปี กล่าวถึงมุมมองอนาคตของอุตสาหกรรมในสายตาผู้ประกอบการรุ่นใหม่ว่า ผ็ประกอบการรุ่นใหม่ จะเน้นสินค้าที่มีคุณภาพ มองสินค้าแฟชั่นว่าไม่ใช่เพียงแค่เรื่องสวยงาม แต่ต้องแสดง identity และยังต้องรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย ซึ่งการทำธุรกิจของคนรุ่นใหม่จะไม่เน้นการผลิตล็อตใหญ่ ทำให้โรงงานใหญ่ ๆ หลายแห่งไม่ได้รับงานตรงนี้  สำหรับในส่วนของออซัมโด สนุกกับการรับผลิตที่จำนวนไม่สูงมากเพราะนอกจากจะได้สานฝันคนรุ่นใหม่ ยังเป็นการสานฝันโรงงานเล็ก ๆ ของตนเองด้วย ที่ผ่านมา ได้ไปดูงานที่จีน ก็ได้นำวัสดุแปลกใหม่มาใช้สำหรับการผลิตเพื่อสร้างความแปลกใหม่ให้กับงานได้ด้วย เพราะเป็น OEM ที่ไม่ได้แค่ผลิตงานสวย ๆ แล้วจบ แต่ด้วยความที่มีลูกค้าประจำ จึงต้องเน้นในเรื่องคุณภาพด้วยการคุมคุณภาพที่ปลายทางด้วย

สำหรับมุมมองเรื่องที่กล่าวกันว่า ธุรกิจสิ่งทอเป็น Sunset นั้น ตนมองว่าจากพฤติกรรมของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่ไม่เน้นผลิตจำนวนมาก จะทำให้โรงงานขนาดใหญ่ลดน้อยลง แต่โรงงานเล็ก ๆ ที่รับผลิตจำนวนน้อย ๆ น่าจะมีโอกาสมากขึ้น แต่จะต้องปรับมาตรฐานในเรื่องคุณภาพสินค้าให้ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าให้ได้ด้วย

นางสาวจงจิต โสวรรณาการ ผู้จัดการโครงการ GFT อาร์เอ็กซ์ เทรดเด็กซ์ กล่าวถึงไฮไลท์งาน GFT งานแสดงเทคโนโลยีการผลิตเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอที่ครบครันที่สุดในอาเซียน ว่านอกจากการจัดแสดงเครื่องจักรกว่า 200 แบรนด์ในงานแล้ว ยังมีการจัดแสดงพื้นที่จัดแสดงพิเศษ เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ๆ ได้แก่

  • My Style – ผู้รับจ้างผลิต OEM มากฝีมือจะมานำเสนอตัวอย่างสินค้าและบริการ พร้อมให้คำปรึกษาเพื่อเปลี่ยนไอเดียแบรนด์ในฝันของผู้ผลิตให้กลายเป็นความจริง
  • Functional Textile – ผู้ผลิตจะพร้อมพิชิตทุกความต้องการของตลาดเครื่องแต่งกายยุคใหม่ ในส่วนแสดงพิเศษที่รวบรวมสิ่งทอพิเศษซึ่งหลากหลายที่สุดในวงการ
  • Lean Digital Transformation – ส่วนแสดงพิเศษที่ EPSON จะมาโชว์เคสเครื่องพิมพ์ DTG (Direct-to-Garment) ที่มีประสิทธิภาพสูงและรักษ์โลก พร้อมทั้งยังมีเวทีพูดคุยโดยดีไซเนอร์และผู้เชี่ยวชาญจาก EPSON เพื่อเพิ่มผลิตภาพให้มากและมีคุณภาพยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ งานจีเอฟทียังช่วยส่งเสริมองค์ความรู้แก่นักอุตสาหกรรม ผ่าน GFT Forum ซึ่งเป็นการสัมมนาเจาะลึกเทรนด์และอนาคตอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอเพื่อเสริมสร้างกลยุทธ์ทางธุรกิจสู่ความสำเร็จในระดับที่สูงขึ้นและสร้างโอกาสทางธุรกิจให้นักออกแบบแฟชั่นมือใหม่ ระหว่างวันพุธที่ 26 มิถุนายนถึงวันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน คือ GFT INDUSTRY FORUM 2024 ในหัวข้อ “ปลดล็อคสู่โอกาสสิ่งทอและแฟชั่นไทยในเวทีโลก” GFT MARKETING FORUM 2024 ในหัวข้อ “ถักทอธุรกิจ…จับเทรนด์ฮิตมาร์เก็ตติ้งโดนใจ” GFT BRANDING FORUM 2024 ในหัวข้อ “ถักทอธุรกิจ…ผสานเทคนิคสร้างแบรนด์ปัง” และ GFT INDUSTRY FORUM 2024 “การยกระดับอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทยสู่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจจาก OEM สู่ ODM OBM และ OSM”

งานจีเอฟที จะมีไปจนถึงวันที่ 29 มิถุนายน นี้ที่ฮอลล์ 103 ไบเทค บางนา ผู้ประกอบการและผู้สนใจ สามารถลงทะเบียนชมงานหน้างานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ www.gftexpo.com  หมายเลข 0 2686 7222 และขอความกรุณาผู้เข้าชมงานแต่งกายสุภาพ สวมกางเกงขายาว หรือกระโปรง และรองเท้าหุ้มส้น ไม่อนุญาตเยาวชนอายุต่ำกว่า 15 ปีให้เข้าชมงาน ผู้จัดงานสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าชมงานได้ โดยไม่ต้องแจ้งเหตุผล

Related

Lastest