INSIDE HISTORY เปิดประวัติคุณบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา #ตอนที่ 5 : การเริ่มต้น

ปลาหมึกแห้งจากที่ญี่ปุ่นเป็นที่นิยมมาก พ่อที่ยังจ้างพนักงานและให้โบนัสแม้บริษัทจะขาดทุน
ปี พ.ศ. 2485 ในช่วงสงคราม พ่อแยกตัวจากปู่มาเปิดร้านขายสินค้าเบ็ดเตล็ดชื่อว่า เฮียบเซ่งเชียง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของเครือสหพัฒน์ในทุกวันนี้

ในเวลานั้น บริษัทเทรดดิ้งในยุโรปและญี่ปุ่น เช่น มิตซุย และ มิตซูบิชิ ได้เปิดสาขาในกรุงเทพฯ พ่อของฉันมักจะไปที่บริษัทเหล่านั้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์ เมื่อมีเรือสินค้าเข้ามาก็จะขอแบ่งสินค้าเพื่อนำไป ขายในร้านค้าส่งบนถนนสําเพ็ง ช่วงนั้นเป็นช่วงขาดแคลนสินค้า ถ้ามี รองเท้า เข็มขัด เสื้อ ฯลฯ เข้ามา ของจะขายออกได้ทันที

เรือสินค้าที่นำข้าวจากประเทศไทยกลับไปญี่ปุ่น เพื่อไม่ให้เรือว่างในเที่ยวขามา เรือมักจะบรรทุกสินค้าต่าง ๆ มาเต็มลำ ที่นิยมมากที่สุดคือ ปลาหมึกแห้งจากฮอกไกโด ปลาหมึกแห้งของจีนก็มีเข้ามา แต่ คุณภาพของญี่ปุ่นดีกว่า

หลังสงคราม เราสามารถนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศได้โดยตรง ปู่ของฉันมีภรรยาหนึ่งคนใน ประเทศไทยและอีกหนึ่งคนในประเทศจีน พ่อของฉันเกิดในประเทศไทย แต่น้องต่างมารดาอาศัยอยู่ที่ มณฑลกวางตุ้ง ธุรกิจในเวลานั้นใช่เพียงความเชื่อใจ จึงสั่งซื้อสินค้าต่างๆ จากญาติในประเทศจีน

สิ่งที่ขายดีที่สุดคือ ยาจีน นอกจากนี้ยังมีเสื้อกล้ามและอาหารกระป๋อง เครื่องปรุงรสจีน เช่น ซอส ถั่วเหลือง น้ำพริกจีน (ลักษณะคล้ายพริกเผา) ซึ่งเป็นที่นิยมในหมู่ชาวจีนเพราะมี “รสชาติของบ้านเกิด” ส่วนสินค้าเกษตร เช่น ถั่วเขียวและแป้งมันสำปะหลัง ซึ่งยังไม่มีการปลูกในประเทศไทยก็เป็นที่นิยมเช่นกัน

ในปี พ.ศ. 2489 เฮียบเซ่งเชียง ก่อตั้งบริษัทในต่างประเทศแห่งแรกที่ฮ่องกง จัดซื้อดอกไม้ ประดิษฐ์พลาสติก เข็มขัด ผ้าขนหนู แปรงสีฟัน ฯลฯ ส่งไปยังประเทศไทย ฮ่องกงได้กลายเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของสินค้าเบ็ดเตล็ดโดยชาวจีนที่หนีภัยจากสงคราม

ร้านเฮียบเซ่งเชียงในช่วงแรก ชั้นล่างเป็นคลังสินค้า ชั้นสองและสามเป็นที่อยู่อาศัยของครอบครัว และพนักงานมากกว่าสิบคน เมื่อปลาหมึกแห่งญี่ปุ่นมาถึงจะส่งกลิ่นไปทั่วทั้งบ้าน กลางวันและกลางคืน ทุกคนจะทานอาหารฝีมือคุณแม่ร่วมกันและพูดคุยกันเรื่องต่างๆ เหมือนการประชุม

เมื่อเวลาผ่านไป 10 ปีนับตั้งแต่ก่อตั้ง ยอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 30 ล้านบาท และจํานวนพนักงาน เพิ่มขึ้นเป็น 50 ถึง 60 คน เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการเติบโตต่อไป พ่อของฉันได้ปรับโครงสร้าง บริษัท เฮียบเซ่งเชียงขึ้นใหม่ และเปลี่ยนชื่อเป็นสหพัฒนพิบูล ในปี พ.ศ. 2495

อย่างไรก็ตาม ด้วยภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยในปีนั้นไม่ค่อยดี ค่าเงินบาทปรับตัวลดลง

อย่างรุนแรง ทำให้สหพัฒน์ขาดทุนมากถึง 1 ล้านบาท ถึงอย่างนั้นพ่อฉันก็ไม่เลิกจ้างพนักงาน แต่ยังให้

โบนัสแก่พนักงานอีกด้วย พ่อของฉันกล่าวว่า “ธุรกิจเทรดดิ้งกำไรขึ้นลง ไม่ได้ให้เงินเดือนสูง เพื่อเป็นการชดเชยพนักงานมีสิทธิได้รับโบนัส ถ้าเราตัดมันไป จะทำให้เสียขวัญกำลังใจ”

จากการที่พ่อของฉันต้องจัดการวิกฤตการณ์ครั้งแรกด้วยตัวเอง พ่อจึงได้สั่งสมข้อมูลและเรียนรู้ ความสําคัญของการบริหารสกุลเงินต่างประเทศ และการบริหารการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายนอก และ ความคิดในการหลีกเลี่ยงการลดต้นทุนด้วยการลดจํานวนพนักงานเมื่อธุรกิจเกิดความลำบาก ได้กลายเป็น วัฒนธรรมองค์กรของเครือสหพัฒน์มาจนถึงทุกวันนี้

พ่อของฉันยังสรรหาคนหนุ่มอย่างเช่น ดำหริ ดารกานนท์ มาเข้าร่วมงานกับสหพัฒน์ เขาเป็น น้องชายของแม่สายพิณ และเป็นลุงของฉัน นายดำหริอายุ 20 ปีในเวลานั้น ได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำ หมายเลขสองในอีกสองปีต่อมา มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์วิธีการจัดหาคนของพ่อ จนช่วงหนึ่งเกิดการต่อต้าน จากร้านค้าส่งในย่านสำเพ็งไม่ซื้อผลิตภัณฑ์ของสหพัฒน์ แต่พ่อของฉันยังคงเชื่อมั่นว่าคนรุ่นใหม่มีความยืดหยุ่น ในการตอบสนองต่อแนวโน้มของยุคสมัย และสามารถแนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ได้รวดเร็ว

ต่อมาดำหริ แยกตัวเป็นอิสระจากสหพัฒน์ และสร้างกลุ่มองค์กรขนาดใหญ่ของเขาเอง ซึ่งฉันจะ อธิบายต่อไปว่าเป็นอย่างไร

ประธานเครือสหพัฒน์
หมายเหตุ : บทสัมภาษณ์คุณบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา
ในคอลัมน์ Watashi no Rirekisho (My Personal History)
หนังสือพิมพ์ Nihon Keizai Shimbun (Nikkei Newspaper)
July 2021

Related

Lastest